หมวดการรักษาพยาบาล - 15. 「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดการรักษาพยาบาล - 15. 「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」 | คู่มือการจั...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


มหาวิทยาลัย

Temple University, Japan Campus
Teikyo University
Meiji Gakuin University

บัณฑิตวิทยาลัย

International University of Japan
Kwansei Gakuin University
Niigata University of Health and Welfare
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」

ในการใช้ชีวิตต่างประเทศ การเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุล้วนเป็นเรื่องที่ชวนให้กังวลใจได้มาก เช่น จะไปรพ.ได้อย่างไร จะสื่อสารกับรพ.รู้เรื่องไหม ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ มีคนมาคอยช่วยดูแลเราอยู่แถวนี้บ้างไหม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ถ้าเป็นการเจ็บป่วยที่ยังพอทนไหว เราอาจมีเวลาหาข้อมูลว่าจะต้องไปที่รพ.ไหนอย่างไร แล้วอาจทนไว้ไปในเช้าวันรุ่งขึ้นได้ แต่บางกรณีเราอาจไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดได้จนต้องเรียกรถพยาบาลมารับตัวไปรพ.ทันที ซึ่งการไปรพ.ก็ชวนให้กังวลใจได้มากพออยู่แล้ว ยิ่งหากต้องมาป่วยกะทันหันคงยิ่งฉุกละหุกและตื่นตระหนกจนไม่รู้ว่าควรจะทำเช่นไรดี

จากนี้จะอธิบายว่าหากเจ็บป่วยกะทันหันหรือเกิดอุบัติเหตุแล้วควรจะต้องทำอย่างไร รวมถึงวิธีการเรียกรถพยาบาล และการไปหาหมอกลางดึกหรือวันหยุดด้วย

หากเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจถึงแก่ชีวิตขอให้เรียกรถพยาบาลทันที ซึ่งด้านล่างนี้คือวิธีการเรียกรถพยาบาล

  • 1. โทรไปที่เบอร์ 「119」
  • 2. เจ้าหน้าที่จะถามว่า 「เพลิงไหม้ หรือรถพยาบาล」 ให้ตอบไปว่า 「รถพยาบาล」
  • 3. เล่าสถานการณ์ให้เจ้าหน้าที่ฟังให้ชัดเจน (เมื่อไหร่ ใคร ที่ไหน อย่างไร ตอนนี้เป็นเช่นไร)
  • 4. แจ้งสถานที่ที่อยู่ในปัจจุบัน (ที่อยู่หรืออาคารที่สังเกตได้ง่าย) ชื่อตัว พร้อมเบอร์โทรศัพท์
  • 5. ถามเจ้าหน้าที่ว่าควรทำอย่างไรระหว่างรอรถพยาบาลมาถึง
  • 6. รอและปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ
  • 7. แจ้งสถานการณ์แก่เจ้าหน้าที่กู้ภัยเมื่อรถพยาบาลมาถึง หากเป็นไปได้ให้หาคนรอบข้างที่รู้สถานการณ์ขึ้นรถไปด้วย ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ขอให้เตรียมบัตรประกันหรือเงินติดไปด้วย

ในปัจจุบันมีคนบางคนที่เรียกรถพยาบาลให้มารับทั้งที่ไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงจริงทำให้รถพยาบาลเสียโอกาสที่จะไปช่วยเหลือผู้ป่วยหนักที่อาจถึงแก่ชีวิตและต้องการรถพยาบาลจริง ซึ่งเคยมีกรณีที่รถพยาบาลไปช้าเพราะสาเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้นทางสถานีดับเพลิงและป้องกันภัยพิบัติโตเกียวจึงได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้ 「รถพยาบาลเป็นรถสำหรับผู้ป่วยหรือบาดเจ็บที่ต้องได้รับการส่งตัวไปรพ.โดยเร่งด่วนอันเนื่องมาจากเหตุเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ หากมีคนเรียกรถพยาบาลออกไปโดยไม่ใช่เหตุเร่งด่วนแล้วเกิดอุบัติเหตุที่ต้องใช้รถพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือจริงขึ้น จะทำให้รถพยาบาลต้องวิ่งไกลขึ้นและทำให้รถพยาบาลไปถึงได้ช้า ซึ่งนั่นอาจทำให้เราไม่สามารถช่วยชีวิตคนที่น่าจะช่วยชีวิตไว้ได้ กรณีที่ไม่เร่งด่วนและยังสามารถไปรพ.เองได้ ขอให้เลือกใช้การเดินทางอื่นๆนอกเหนือจากรถพยาบาลด้วย」

ถ้าเช่นนั้นต้องเจ็บป่วยระดับใดถึงควรจะเรียกรถพยาบาลมารับ ซึ่งเรื่องนี้ทางสถานีดับเพลิงและป้องกันภัยพิบัติโตเกียวได้เตรียมไว้ผ่านทาง 「ศูนย์ให้คำปรึกษารถพยาบาล」 เรียบร้อยแล้ว

ศูนย์ให้คำปรึกษารถพยาบาล:เบอร์โทร #7119 (ตลอด 24 ชม. ไม่เว้นวันหยุด)

ซึ่งสามารถโทรเข้าไปขอคำปรึกษาได้ว่าในกรณีที่มีอาการต่อไปนี้จะเรียกรถพยาบาลดีหรือไม่ หรือไม่จำเป็นต้องเรียกก็ได้ หรือการปฐมพยาบาลสามารถทำได้อย่างไร รพ.ที่สามารถไปเข้ารับการรักษามีที่ใดบ้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ สถานีดับเพลิงในโตเกียวแต่ละแห่งยังสามารถให้ข้อมูลทางโทรศัพท์เรื่องรพ.ที่มีการออกตรวจฉุกเฉินได้ด้วย

แต่หากเป็นกรณีต่อไปนี้ขอให้เรียกรถพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องลังเล ซึ่งในการเรียกรถพยาบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย

  • 1. ไม่หายใจ ชีพจรไม่เต้น หมดสติ
  • 2. เสียเลือดในปริมาณมาก
  • 3. เป็นตะคริว (ชักกระตุก) เกิน 10 นาที
  • 4. อาการร้ายแรงอื่นๆที่เห็นได้ชัดเจน หรือไม่สามารถขยับตัวได้ เป็นต้น

PageTop

สถานพยาบาลโดยทั่วไปจะหยุดวันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดสิ้นปีและปีใหม่ นอกจากนี้ บางที่ยังอาจหยุดในช่วงเทศกาลโอบ้ง (ไหว้บรรพบุรุษในช่วงกลางเดือนส.ค.) หรืออาจหยุดตรวจตั้งแต่ช่วงบ่ายวันเสาร์ด้วย และส่วนมากก็มักมีเวลาตรวจตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น

ดังนั้นในกรณีที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินในช่วงวันหยุดหรือกลางดึกไปที่รพ.ขนาดใหญ่ หมอจะต้องทำการออกตรวจนอกเวลาซึ่งเรียกว่า 「การออกตรวจฉุกเฉิน」 แต่ก็ไม่ใช่สถานพยาบาลทุกแห่งที่สามารถทำการออกตรวจฉุกเฉินเช่นนี้ได้ ซึ่งในเวบไซต์ของสถานีดับเพลิงและป้องกันภัยพิบัติโตเกียวจะมีรายชื่อรพ.ที่ตรวจฉุกเฉินได้แนะนำไว้อยู่

นอกจากนี้ในโตเกียวยังมีบริการข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ชื่อ 「บริการแนะนำสถานพยาบาล ฮิมาวาริ」 ด้วย
เบอร์โทร: 03-5272-0303(ตอบรับ 24 ชม.)

ตอนที่เกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินเราคงไม่มีเวลาที่จะเช็คข้อมูลได้อย่างใจเย็นนัก ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบและจดบันทึกเบอร์ติดต่อของสถานพยาบาลที่มีการออกตรวจฉุกเฉินในพื้นที่ที่ตนอยู่อาศัยไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้ บัตรประกันสุขภาพก็ยังควรพกหรือวางไว้ใกล้ตัวเสมอด้วย

อนึ่ง การออกตรวจฉุกเฉินนั้นจะเป็นการตรวจวินิจฉัยในเวลาเร่งด่วนเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่ารพ.นั้นๆเป็น 「รพ.ที่เปิดตลอด24 ชม.」 ดังนั้นแพทย์เฉพาะทางจึงอาจไม่ได้อยู่ในช่วงของการออกตรวจฉุกเฉิน และแพทย์ที่ทำการรักษาอาจมีจำนวนน้อยจึงอาจให้การรักษาได้ไม่เต็มที่บ้าง ดังนั้นหากต้องการเข้ารับการรักษาแบบนอกเวลาเร่งด่วน ขอให้โทรศัพท์เข้าไปก่อนพร้อมเล่าสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟัง เพื่อเป็นการยืนยันว่าควรจะเข้ารับการรักษาโดยทันทีหรือไม่

การออกตรวจฉุกเฉินจะทำโดยแพทย์ซึ่งประจำอยู่ที่นั่นในเวลานั้นๆ อาจเป็นการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหรือการตรวจอาการคร่าวๆก่อน จากนั้นอาจรอแพทย์เฉพาะทางมาตรวจวินิจฉัยในวันรุ่งขึ้นอีกครั้ง

ซึ่งหากได้มีการโทรเข้าไปเช็คก่อนว่าจะขอรับการออกตรวจฉุกเฉินได้หรือไม่ ทางรพ.จะได้แจ้งตอบรับหรือปฏิเสธให้เราได้ทราบล่วงหน้าได้ว่าขณะนั้นรพ.ไม่มีแพทย์ที่พร้อมจะรักษา ซึ่งในกรณีนี้เราควรได้มีการตรวจสอบชื่อสถานพยาบาลเตรียมไว้ล่วงหน้าหลายๆแห่งด้วย

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。