หมวดแผ่นดินไหว - 5. 「ควรจะอพยพไปที่ไหนดี?」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดแผ่นดินไหว - 5. 「ควรจะอพยพไปที่ไหนดี?」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรั...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「ควรจะอพยพไปที่ไหนดี?」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

Kwansei Gakuin University
International University of Japan
Niigata University of Health and Welfare

มหาวิทยาลัย

Temple University, Japan Campus
Teikyo University
Meiji Gakuin University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「ควรจะอพยพไปที่ไหนดี?」

หากเกิดแผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอื่นขึ้นและการอยู่ในบ้านจะก่อให้เกิดอันตรายก็ให้ทำการอพยพออกภายนอก แต่จะอพยพไปที่ใดได้บ้างนั้น ให้ลองพิจารณาตามสถานการณ์ของภัยพิบัติที่เกิดและทำการอพยพดังลำดับต่อไปนี้

(1) สถานที่อพยพชั่วคราว (ที่รวมพลชั่วคราว)

ตามหลักทั่วไปแล้วให้อพยพออกไปยังพื้นที่โล่งก่อน เช่น สวนสาธารณะหรือสนามของโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน จากนั้นดูสถานการณ์สักระยะ สถานที่อพยพชั่วคราวมักจะถูกกำหนดขึ้นโดยเมืองนั้นๆ

(2) ลานอพยพ

ถ้าสถานที่อพยพชั่วคราวเริ่มไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายในการอพยพไปก็ให้ไปรวมตัวกันที่ลานหรือสวนสาธารณะที่กว้างกว่าเดิมซึ่งรองรับหากเกิดเพลิงไหม้ ลานอพยพจะถูกกำหนดขึ้นโดยเขตหรือจังหวัดนั้นๆ

(3) ศูนย์อพยพ

เป็นสถานที่สำหรับการดำรงชีพกรณีที่บ้านของตัวเองเสี่ยงต่อการพังถล่มจนไม่สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้ เขตหรือจังหวัดจะเป็นผู้กำหนดที่ตั้งศูนย์อพยพซึ่งโดยปกติมักเป็นโรงเรียนประถมในเขตพื้นที่นั้นๆ เป็นต้น

ลำดับของการอพยพมีระบุไว้ในแผนผังของ 「โฮมเพจข้อมูลการป้องกันพิบัติภัยโตเกียว (Tokyo Disaster Prevention Information Homepage)」 ซึ่งอธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย

ถ้าเช่นนั้น สถานที่อพยพ หรือจุดอพยพในเขตที่อยู่อาศัยของตนเองอยู่ที่ไหนบ้าง

สำหรับโตเกียวได้มีการจัดทำ 「แผนที่สำหรับการรับมือภัยพิบัติของโตเกียว」 ไว้ ซึ่งจะทำให้รู้ได้ว่าสถานที่อพยพหรือจุดอพยพของหมู่บ้าน เมือง เขตอยู่ตรงไหนบ้าง

เวบไซต์อื่นๆของท้องถิ่น
เมืองซัปโปโร 「ต้องอพยพไปที่ไหนดี?」
เมืองโอซากา 「แผนที่การรับมือภัยพิบัติของแต่ละเขต」
เมืองโกเบ 「จุดอพยพขณะเกิดภัยพิบัติ」
เมืองฟุคุโอกะ 「แผนที่การรับมือภัยพิบัติเมืองฟุคุโอกะ」

นอกจากนี้ หากลองค้นหาด้วยคำว่า 「ชื่อหมู่บ้านเมืองเขต สถานที่อพยพ」 จากอินเตอร์เน็ต ก็น่าจะพบเวบไซต์ที่หน่วยงานท้องถิ่นจัดทำขึ้นซึ่งในนั้นน่าจะมีตารางแสดงสถานที่อพยพแสดงไว้อยู่ ขอให้ทำการเช็คสถานที่อพยพหรือจุดการอพยพของเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ให้ดีด้วย

PageTop

ในโฮมเพจหรือหนังสือแนะนำเรื่องการรับมือภัยพิบัติที่จัดทำขึ้นโดยหมู่บ้าน เมือง หรือเขตแต่ละเขตนั้น มักจะแสดงสถานที่อพยพหรือจุดอพยพด้วยข้อความ 「ทุกท่านที่อยู่ในเมือง ○○ หมู่ที่ ○ ตั้งแต่บ้านเลขที่ ○~เลขที่ ○ ให้ไปที่โรงเรียนประถม ○○」 ซึ่งหากใครไม่รู้จักชื่อเขตหรือชื่อโรงเรียน หรือชื่อสวนสาธารณะที่กล่าวถึงก็จะไม่รู้ว่าตั้งอยู่ที่ใด ถึงจะมีแสดงไว้ด้วยแผนที่ แต่หากเป็นคนอาศัยอยู่ต่างประเทศมาก่อนก็ย่อมจินตนาการไม่ออกหรือไม่รู้สภาพที่แท้จริงของถนนจากการดูแค่แผนที่ (ไม่รู้ว่าถนนั้นไกลหรือใกล้ขนาดไหน ทางที่ผ่านกว้างหรือแคบอย่างไร หรือสถานที่อพยพนั้นเป็นสภาพแบบไหน เป็นต้น)

ดังนั้นก่อนที่จะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นจริง ขอแนะนำให้ลองหาเวลาเดินสำรวจด้วยตัวเองเพื่อดูการเดินทางไปยังสถานที่อพยพหรือจุดอพยพของย่านที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วย เพราะหากลองได้เดินดูทางจริงก็ย่อมจะจินตนาการได้ว่าทางเป็นเช่นไร ทางอาจจะไกลกว่าที่คิด หรือถนนบางเส้นอาจไม่มีทางเท้าทำให้เดินไม่ค่อยปลอดภัย หรือทางนี้มีสะพานซึ่งอาจเป็นอันตรายหากเดินข้ามไปตอนเกิดภัยพิบัติจริง เป็นต้น การเตรียมดูทางล่วงหน้าก็จะช่วยให้เราไม่ตื่นตระหนกและรีบร้อนตอนที่ต้องอพยพจริงด้วย

นอกจากนี้ยังต้องศึกษาตำแหน่งหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมไว้ด้วย เช่น ชื่อสวนสาธารณะ ชื่อโรงเรียน ชื่อย่านหรือเขตรอบๆข้าง เป็นต้น เพราะหากตอนเกิดภัยพิบัติแล้วมีประกาศจากตำรวจหรือสถานีดับเพลิงว่า 「ขอให้ทุกท่านที่อาศัยในเมือง○○ อพยพไปยังสวนสาธารณะ○○ ด้วย!」 และถ้าหากเราไม่รู้ว่าว่าสวนสาธารณะนั้นอยู่ที่ใดก็จะทำอะไรไม่ถูกยิ่งขึ้น

PageTop

ดังที่เขียนไปแล้วก่อนหน้านี้ ว่าถ้าหากในบ้านปลอดภัยไม่มีเพลิงไหม้หรืออันตรายใดๆก็ไม่เป็นต้องอพยพ แต่กรณีดังด้านล่างนี้คือกรณีที่จำเป็นต้องอพยพ

  • 1-1. กรณีที่เกิดเพลิงไหม้แล้วไม่สามารถดับเพลิงได้ด้วยตนเอง
  • 1-2. กรณีที่มีความเสี่ยงห้องพังถล่ม
  • 1-3. กรณีที่มีประกาศอพยพจากสถานีตำรวจหรือสถานีดับเพลิง

ขอให้ระมัดระวังเรื่องต่อไปนี้เมื่อจะทำการอพยพ

  • 2-1. ก่อนออกจากบ้านจะต้องปิดเบรกเกอร์ไฟฟ้าและปิดวาล์วแก๊สให้เรียบร้อย
  • 2-2. สวมใส่รองเท้าที่แน่นหนาแข็งแรง
  • 2-3. พยายามมีสัมภาระติดตัวให้น้อยที่สุด
  • 2-4. ห้ามใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ในการอพยพ ให้ใช้การเดิน
  • 2-5. พยายามอย่าไปคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ให้ไปกับครอบครัว เพื่อน หรือผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。