หมวดแผ่นดินไหว - 3. 「การเตรียมพร้อมในชีวิตประจำวัน」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดแผ่นดินไหว - 3. 「การเตรียมพร้อมในชีวิตประจำวัน」 | คู่มือการจัดการภาวะวิ...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「การเตรียมพร้อมในชีวิตประจำวัน」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

International University of Japan
Kwansei Gakuin University
Niigata University of Health and Welfare

มหาวิทยาลัย

Meiji Gakuin University
Temple University, Japan Campus
Teikyo University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「การเตรียมพร้อมในชีวิตประจำวัน」

ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ฮันชินอาวาจิในปี 1995 นั้นมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6,400 ราย และบาดเจ็บอีกมากกว่า 43,000 ราย ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเวลา 5 นาฬิกา 46 นาที กว่าร้อยละ 80 ของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้เกิดจากการโดนอาคารถล่มลงมาทับเพราะแผ่นดินไหว โดยพบร่างของผู้คนที่ตกลงมาทับถมอยู่ที่ชั้น 1 ของอาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก

ตอนที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น ก่อนอื่นต้องปกป้องร่างกายของตนเองก่อน แต่ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นระหว่างกำลังนอนหลับก็ย่อมแน่นอนว่ามนุษย์เราจะไม่สามารถทำอะไรได้มาก ที่ทำได้คือขอให้นำหมอนหรือผ้าห่มมาใช้ป้องกันตนเองจากเครื่องเรือนหรือของที่จะตกลงมาใส่ร่างกาย ดังนั้นแล้ว "การเตรียมพร้อม" ไว้ล่วงหน้าจึงเป็นการดี

หากจะพิจารณาถึงการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า จะขอแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

(1)เตรียมพร้อมเพื่อป้องกันตนเอง

(=จะต้องเตรียมพร้อมป้องกันตนเองอย่างไรบ้างในขณะที่กำลังเผชิญแผ่นดินไหว)

(2)เตรียมพร้อมเพื่ออยู่รอดหลังแผ่นดินไหวสงบ

(=จะต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้างในการอพยพหลังการสั่นสะเทือนรุนแรงได้สงบลงแล้ว )

กรณีที่อยู่ในบ้าน ให้ปกป้องตัวเองจากเครื่องเรือนที่อาจถล่มลงมา ตู้หรือชั้นต่างๆที่จะล้มลงมา ถ้วยชามหรือเศษกระจกที่อาจจะปลิวมาโดนเรา เป็นต้น ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าเก็บเครื่องเรือนหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ในห้องนอนเป็นจำนวนมาก

จากนั้นต้องเตรียมการอะไรอย่างเป็นรูปธรรมอีกหรือไม่

  • 1. เครื่องเรือนหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวก ตู้เสื้อผ้า ชั้นหนังสือ ตู้เก็บถ้วยชาม หรือโทรทัศน์ ให้พยายามยึดไว้กับผนัง พื้น หรือเสาให้แน่นหนา หากลองค้นหาคำว่า 「ป้องกันการพังถล่ม」 ด้วยอินเตอร์เน็ตดูก็จะพบกับสิ่งของที่ใช้สำหรับการป้องกันการพังถล่มหรือหักโค่นลงมามากมาย
  • 2. ตู้ถ้วยชามหรือตู้หนิงสือก็ให้ปิดประตูและล็อกไว้ให้เรียบร้อยเสมอ พยายามอย่าให้ประตูตู้เปิดออกมาได้เอง
  • 3. ไม่วางสิ่งของไว้บนหลังตู้หรือหลังชั้น โดยเฉพาะของหนักหรือของที่แตกได้ง่าย
  • 4. ด้านในตู้หรือชั้นก็ให้วางของหนักไว้ด้านล่าง วางของเบาไว้ด้านบน
  • 5. ติดฟิล์มที่กระจกหน้าต่างเพื่อป้องกันการแตกกระเด็น
  • 6. เตรียมรองเท้า รองเท้าแตะ หรือสลิปเปอร์ไว้ในห้องนอนเสมอ
    ⇒ใช้สวมใส่เพื่อไม่ให้เหยียบเศษกระจกหรือเศษถ้วยชามที่ปลิวตกแตก เพราะหากเหยียบและได้รับบาดเจ็บที่เท้า การอพยพจะยิ่งทำได้ลำบากมากขึ้น
  • 7. หาพวกโคมไฟให้แสงสว่าง (ไฟฉายแบบพกพา) เตรียมไว้ใกล้มือเสมอ
    ⇒เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงไฟฟ้าจะดับ และหากเป็นตอนกลางคืนก็จะทำให้มองไม่เห็นอะไร ดังนั้นขอให้จัดเตรียมไฟฉายและรองเท้าแตะสำหรับสวมใส่ไว้ข้างๆเตียงเสมอ
  • 8. ตรวจสอบความปลอดภัยของห้องหรือบ้านที่ตนเองอาศัยอยู่
    ⇒จะสามารถออกจากประตูบ้านได้โดยสะดวกหรือไม่ (มีของกีดขวางทางเข้าออกประตูหรือไม่) ⇒
    ⇒มีทางให้อพยพนอกจากประตูเข้าออกอีกหรือไม่ (ระเบียง หน้าต่าง เป็นต้น)                  ⇒นอกจากลิฟต์แล้วบันไดหนีไฟยังสามารถใช้การได้ปกติดีหรือไม่มีเครื่องดับเพลิงติดตั้งเตรียมไว้หรือไม่ เป็นต้น

★ระวัง!อพาร์ทเม้นท์โครงสร้างไม้ที่ก่อสร้างก่อนปี 1980 จะเป็นอาคารที่ก่อสร้างตามเกณฑ์มาตรฐานการป้องกันแผ่นดินไหวแบบเก่า แต่ทั้งนี้ อาคารที่ก่อสร้างตามเกณฑ์มาตรฐานการป้องกันแผ่นดินไหวสมัยใหม่ก็บอกไม่ได้ว่าจะปลอดภัย 100% เช่นกัน เพราะฉะนั้นการเลือกห้องพักก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาอย่างเข้มงวดว่า ถ้าเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่นี่จะเป็นอย่างไร .... เป็นต้น

PageTop

หลังจากผ่านพ้นการสั่นสะเทือนที่รุนแรงไปแล้ว ถ้าหากเกิดสภาพอันตรายเช่นไฟไหม้หรืออาคารถล่มให้รีบหนีออกมาโดยเร็ว แต่ในการจะหนีออกมาจำเป็นต้องหยิบอะไรติดตัวมาบ้าง เงิน? หนังสือเดินทาง?

ก่อนอื่นต้องคิดว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นในการจะออกมามีชีวิตรอดที่ภายนอกบ้าง ซึ่งมีผลการสำรวจจากเวบไซต์ของพิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหวและป้องกันภัยพิบัติ จากผู้ที่มีประสบการณ์จริงจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง 「 อะไรคือสิ่งที่ควรมีไว้ตอนประสบภัยพิบัติบ้าง 」 ซึ่งผลสำรวจได้ดังนี้
จากผลสำรวจในที่นี้พบว่าของที่ควรจะเตรียมไว้ก็คือ 「ไฟฉายพกพา」、「น้ำ」、「อาหารกระป๋องหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย」 นั่นหมายความว่าความปลอดภัยของร่างกายและเรื่องปากท้องเป็นเรื่องที่สำคัญนั่นเอง

ระหว่างการอพยพ ถ้าจะให้ดีควรมีการเตรียมพร้อมให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดได้ด้วยตนเองอย่างน้อย 3 วันหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งหากสัมภาระที่เตรียมไว้หนักจนเกินไปก็จะเป็นภาระแก่การเคลื่อนย้าย ขอให้จัดเตรียมสัมภาระตามลำดับความจำเป็น จากนั้นให้ให้ลองพิจารณาตามสถานการณ์อีกครั้งว่ายังมีสิ่งใดที่จำเป็นต้องใช้อีกบ้างเพื่อเตรียม "สัมภาระในสถานการณ์ไม่ปกติ" ของตนเองไว้

ขอให้ลองดูรายการสัมภาระด้านล่าง (ที่ว่ากันว่า) มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสถานการณ์ไม่ปกติ ซึ่งเรียงตามลำดับความสำคัญเอาไว้ด้วย
※ลำดับของความสำคัญนี้เป็นวิจารณญาณของผู้เขียนบทความนี้ ดังนั้นอาจไม่ต้องยึดเอาตามนี้ทั้งหมดก็ได้

ลำดับความสำคัญ:มาก
  • 1-1. ไฟฉายพกพา
  • 1-2. น้ำ
  • 1-3. อาหารกระป๋องหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย (อาหารกระป๋องแบบไม่ต้องใช้ที่เปิดฝา)
  • 1-4. วิทยุพกพา
ลำดับความสำคัญ:กลาง
  • 2-1. ถ่านไฟฉาย
  • 2-2. ผ้าขนหนู
  • 2-3. อุปกรณ์กันฝน (ใช้ชุดกันฝนจะดีกว่าร่ม)
  • 2-4. เสื้อผ้า (ชุดชั้นในหรือเสื้อสเว็ตเตอร์ด้วย)
  • 2-5. มีด
  • 2-6. ไฟแช็ค
  • 2-7. ยา
  • 2-8. กระดาษทิชชู่
  • 2-9. ถังพลาสติก (ไว้บรรจุขนย้ายน้ำ)
  • 2-10. โทรศัพท์มือถือ
  • 2-11. หนังสือเดินทาง Residence Card
ของอำนวยความสะดวก ถ้าสะดวกก็ควรมีไว้
  • 3-1. เงิน
  • 3-2. สุขาเคลื่อนที่ ห้องน้ำชั่วคราว
  • 3-3. ผ้าอนามัย
  • 3-4. ถุงพลาสติก
  • 3-5. เทปกาว
  • 3-6. เครื่องเขียน

ของพวกนี้บางครั้งไม่อาจเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนอพยพได้ แต่หลังจากนี้อยากให้ลองเตรียมบรรจุใส่เป้หรือกระเป๋าไว้ แล้ววางไว้ที่หน้าประตูบ้านอยู่เสมอ

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。