หมวดเพลิงไหม้ - 9. 「ถ้าเกิดเพลิงไหม้」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดเพลิงไหม้ - 9. 「ถ้าเกิดเพลิงไหม้」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「ถ้าเกิดเพลิงไหม้」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

International University of Japan
Niigata University of Health and Welfare
Kwansei Gakuin University

มหาวิทยาลัย

Temple University, Japan Campus
Meiji Gakuin University
Teikyo University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「ถ้าเกิดเพลิงไหม้」

ในฤดูหนาวนั้นจะเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย เพราะอากาศจะแห้งและของก็จะเกิดการติดไฟได้ง่าย รวมถึงโอกาสในการใช้เครื่องทำความร้อนก็มีบ่อยครั้งด้วย แต่แน่นอนว่าสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้มีแค่จากเครื่องทำความร้อนเท่านั้น ในชีวิตประจำวันยังมีสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้อีกมากที่เราจะต้องระมัดระวังและละเลยไม่ได้ เช่น เตาแก๊สที่ใช้ทำอาหาร ก้นบุหรี่ ปลั๊กไฟที่มีฝุ่นสะสมมากๆ สายไฟที่พันทับกัน โคมไฟตั้งโต๊ะที่เปิดทิ้งไว้และสัมผัสกับผ้าม่านเป็นเวลานาน เป็นต้น

สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวัน

เพลิงไหม้หายๆครั้งเกิดจากสาเหตุแห่งความประมาทในชีวิตประจำวัน ดังนั้นในการป้องกันเพลิงไหม้จึงจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพรอบตัวให้ดี เช่นด้านล่างนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาแล้วจริง

- เตาแก๊ส

ไฟจากเตาแก๊สลุกติดเสื้อผ้า (แขนเสื้อ ชายเสื้อแจ็คเก็ต เป็นต้น) ระหว่างทำอาหาร
ไฟจากเตาแก๊สกระเด็นไปติดถุงขยะที่อยู่ใกล้ๆ
เตาพกพาแบบใช้กระป๋องแก๊ส กระป๋องแก๊สสภาพไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดแก๊สรั่วออกมา
ใช้กระป๋องสเปรย์ใกล้เตาแก๊ส
เตาไฟฟ้าตกลงมาทำให้สวิทช์เปิด
・・・

- บุหรี่

ทิ้งบุหรี่โดยไม่ดับไฟให้สนิท
สูบบุหรี่ระหว่างนอนบนเตียงทำให้ไฟติดผ้าห่ม
ลืมวางบุหรี่บนที่เขี่ยบุหรี่แล้วก้นบุหรี่ตกลงมาบนเสื่อ
ทิ้งบุหรี่ลงถังขยะทั่วไป
・・・

- สายไฟ เต้ารับ ปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ถ้าเสียบปลั๊กลงที่เต้ารับซึ่งไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานานและมีฝุ่นหรือความชื้นสะสมอยู่ก็อาจทำให้ไฟติดขึ้นมาได้
ถ้าปล่อยสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าพาดหรือพันทับกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการติดไฟขึ้นได้
เอาผ้าขนหนูเปียกไปพาดไว้บนโคมตั้งโต๊ะจนผ้าแห้งและติดไฟได้
เอาเตารีดไปวางทิ้งไว้บนที่เขี่ยบุหรี่ทำจากแก้วนานจนแก้วแตก ทำให้เศษบุหรี่ปลิวจนไฟติดขึ้นมาได้

- เครื่องทำความร้อน

ผ้าแห้งตกลงไปบนเตาแก๊ส
ผ้าม่านปลิวไปติดเตาแก๊ส
เอาเตาทำความร้อนเข้าไปในที่เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าอาบน้ำแต่ถุงกระดาษตกลงมาจากชั้นวางของใส่เตาและติดไฟ
ใช้กระป๋องสเปรย์ใกล้ไฟ
น้ำมันรั่วออกมาจากช่องเติมน้ำมันของเตาทำความร้อน

ข้อควรระวังและการเตรียมพร้อมประจำวัน

เหตุเพลิงไหม้ตามด้านบนสามารถป้องกันได้ด้วยความไม่ประมาท ตอนที่ทำการใช้ไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสติและห้ามละเลยเด็ดขาด เช่นนั้นแล้วในชีวิตประจำวันควรระวังอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น

ระวัง
  • - ไม่ทำชั้นวางของเหนือเตาไฟ และไม่วางของที่ติดไฟได้ง่าย เช่น ขยะ ถุงจากซูเปอร์ หรือฟิล์มห่ออาหารไว้ใกล้เตาไฟ
  • - ระวังผ้าม่าน ผ้าซัก ผ้าห่ม ไม่ให้อยู่ใกล้เตา
  • - อย่าทิ้งเตาไว้ขณะทำอาหาร หากจะต้องออกห่างจากเตาก็ต้องดับไฟให้เรียบร้อย
  • - อย่าเสียบปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ หากเป็นเครื่องใช้ขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็นหรือเครื่องซักผ้า ก็ให้ดึงปลั๊กออกมาทำความสะอาดเป็นระยะด้วย
  • - อย่าปล่อยให้สายไฟพาดหรือทับกัน
  • - ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามคู่มือทุกครั้ง
  • - บุหรี่ที่จุดแล้วก็คือของที่มีไฟซึ่งต่างจากหมากฝรั่งหรือลูกอม ไม่ใช่แค่ต้องระวังตอนทิ้งก้นบุหรี่เท่านั้น แต่ตอนสูบก็ต้องระวังไม่ให้บุหรี่ไปติดเอาของรอบตัวจนไฟลุกขึ้นมาด้วย
  • - สาเหตุหนึ่งของการเกิดเพลิงไหม้ก็คือการปล่อยไฟให้ลุกลาม ดังนั้นรอบๆบ้านจึงไม่ควรมีของที่ติดไฟได้ง่ายวางทิ้งไว้ ขยะทั้งหลายก็ต้องไม่ทิ้งนอกจากวันที่กำหนดเท่านั้น และพวกจดหมายต่างๆก็ไม่ควรทิ้งไว้ในกล่องรับจดหมาย
การเตรียมพร้อม
  • - มีเครื่องดับเพลิงอยู่ข้างๆหรือไม่ รู้วิธีใช้หรือไม่ สามารถนำมาใช้ได้ตลอดเวลาหรือไม่
  • - หากออกไปข้างนอกทางประตูไม่ได้จะทำอย่างไรดี สามารถหนีออกไปด้านนอกหรือไปบ้านข้างเคียงโดยทางหน้าต่างหรือระเบียงได้อีกหรือไม่
  • - ทางออกฉุกเฉินอยู่ตรงไหน หรือบันไดหนีไฟอยู่ตรงไหน
  • - มีกริ่งสัญญาณแจ้งไฟไหม้ติดอยู่ในห้องบ้างหรือไม่
  • - ควรตุนน้ำไว้ในอ่างอาบน้ำในห้องน้ำด้วย

※ตามกฏหมายป้องกันเพลิงแล้ว บ้านทุกหลังมีหน้าที่จะต้องติดตั้งกริ่งสัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ไว้ด้วย

PageTop

หากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นขอให้ปฏิบัติดังนี้

  1. 1. แจ้งให้บ้านข้างเคียงทราบด้วยการตะโกนเสียงดังว่า 「ไฟไหม้!」 จากนั้นกดกริ่งฉุกเฉิน(ถ้ามี)
  2. 2. โทรแจ้งที่เบอร์ 「119」(=สถานีดับเพลิง) (ให้คนที่อยู่แถวนั้นโทรให้ก็ได้)

    ถ้าโทรไปหา 119 ...
    (ตัวอย่างการสนทนา)
     คู่สนทนา 「เพลิงไหม้หรือรถพยาบาลครับ?」
     ฉัน 「เพลิงไหม้ค่ะ」
     คู่สนทนา 「ที่ไหนครับ?」
     ฉัน 「(บ้านตัวเอง)ค่ะ」
     คู่สนทนา 「ไฟกำลังไหม้อะไรครับ」
     ฉัน 「กำลังไหม้ในห้องครัวค่ะ ไม่สามารถดับได้ด้วยถังดับเพลิง!」
     คู่สนทนา 「มีผู้บาดเจ็บไหมครับ」
     ฉัน 「มีค่ะ เพื่อนโดนไฟไหม้ที่มือ /ไม่มีค่ะ」
     ・・・

  3. 3. การดับเพลิงขั้นต้น

    หากเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นในช่วง 2 นาทีแรก แล้วเปลวไฟสูงประมาณเท่าช่วงตัว ถือเป็นช่วงที่ยังสามารถใช้ถังดับเพลิง น้ำ หรือผ้านวมเปียกๆ ดับไฟได้

วิธีดับเพลิงขั้นต้นแยกตามสาเหตุการเกิดเพลิง
- ไฟจากหม้อหรือกระทะทำอาหาร

กรณีที่ใช้น้ำมันห้ามสาดด้วยน้ำเด็ดขาด ให้ดับโดยการใช้ถังดับเพลิง หรือใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าห่มชุบน้ำวางด้านบนเพื่อตัดอากาศไม่ให้เข้าไป และห้ามเคลื่อนย้ายหม้อหรือกระทะนั้นเพราะอาจเกิดอันตรายได้

- ไฟจากเตาที่ใช้น้ำมัน

ห้ามสาดน้ำเพื่อดับไฟ ให้ดับโดยการใช้ถังดับเพลิง หรือใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าห่มชุบน้ำวางด้านบนเพื่อตัดอากาศไม่ให้เข้าไป

- ไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตาไฟฟ้า หรือจากเต้ารับ หรือสายไฟ

หากใช้น้ำสาดเพื่อดับไฟเลยอาจทำให้ไฟยิ่งลามไปได้ ก่อนอื่นให้ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าห่มชุบน้ำวางด้านบน จากนั้นปิดเบรกเกอร์ของบ้านแล้วจึงค่อยใช้น้ำดับอีกครั้ง

- ไฟลามติดผ้าม่าน ประตูกระดาษ เสื้อผ้า เครื่องเรือน

ให้ใช้น้ำรีบดับก่อนไฟลามไปติดเพดานห้อง

ถ้าไฟลามไปติดเพดานห้องเมื่อไหร่ก็ไม่สามารถใช้วิธีดับเพลิงขั้นต้นที่กล่าวมาได้ ขอให้อพยพออกมาทันที

การอพยพ

หากไฟลามไปติดเพดานเมื่อไหร่ขอให้รีบอพยพออกมาทันที ไม่ต้องห่วงเสื้อผ้าหรือห่วงว่าต้องเอาอะไรออกมา แต่ขอให้ออกมาจากที่นั้นโดยเร็วที่สุด ให้ใช้ผ้าเปียกปิดปากและจมูก หมอบคลานต่ำออกมาเพื่อไม่ให้สูดดมควันไฟ ตอนที่ออกมาจากห้องที่กำลังมีไฟลุกต้องปิดประตูหรือหน้าต่างด้วยเพื่อเป็นการตัดอากาศไม่ให้ไปยิ่งลุกลาม และเป็นการป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามไปยังห้องข้างเคียงด้วย

มาลองจำลองสถานการณ์กันว่าหากเกิดไฟไหม้แล้วจะต้องหาทางหนีออกไปอย่างไรกันดี หากมีทางออกฉุกเฉินหรือบันไดหนีไฟ หรือมีระเบียงก็ให้ปีนไปยังบ้านข้างเคียง รวมถึงต้องทำการตรวจสอบด้วยว่าตามระเบียงมีของอะไรวางกีดขวางหรือไม่ และตามทางเดินหรือบันไดในอพาร์ทเม้นท์หรือแมนชั่นมีอะไรวางกีดขวางไว้หรือไม่ เราต้องร่วมสร้างสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้สามารถหนีออกไปได้ในเวลาฉุกเฉินอยู่เสมอ

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。