หมวดอุบัติเหตุ และเหตุร้ายต่างๆ - 13. 「การขับขี่รถยนต์」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดอุบัติเหตุ และเหตุร้ายต่างๆ - 13. 「การขับขี่รถยนต์」 | คู่มือการจัดการภา...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「การขับขี่รถยนต์」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

Niigata University of Health and Welfare
International University of Japan
Kwansei Gakuin University

มหาวิทยาลัย

Meiji Gakuin University
Temple University, Japan Campus
Teikyo University
Sapporo University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「การขับขี่รถยนต์」

กรณีที่ต้องการขับรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นกว่าการขับขี่ในประเทศของตนเองเนื่องจากทั้งกฏหมายและรูปแบบของรถยนต์อาจมีความแตกต่างกับที่เคยขับขี่มาก หากเป็นไปได้อยากให้ใช้ยานพาหนะในระบบขนส่งมวลชนมากกว่า แต่หากมีความจำเป็นต้องขับรถยนต์จริงๆ ก็จำเป็นต้องศึกษากฏหมายจราจร ประเภทและคุณสมบัติของรถยนต์ที่จะขับ รวมถึงระบบประกันภัยรถยนต์ต่างๆในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุด้วย จากนั้นจึงค่อยขับรถยนต์ด้วยความรอบรู้ที่ครบถ้วน

หากคนต่างชาติต้องการจะขับรถยนต์ใประเทศญี่ปุ่น จะมี 3 วิธีการดังต่อไปนี้

  • 1. สอบใบอนุญาตขับรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น
  • 2. เปลี่ยนใบอนุญาตขับรถยนต์จากของประเทศตนเองมาเป็นของประเทศญี่ปุ่น
  • 3. ใช้ใบอนุญาตขับขี่สากล
การสอบใบอนุญาตขับรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น

ต้องปฏิบัติคล้ายกับคนญี่ปุ่นคือจะต้องได้ใบอนุญาตขับรถผ่านโรงเรียนที่ไปเรียนขับรถ แต่สำหรับนักเรียนต่างชาติแล้วแทบจะไม่มีใครทำได้นักเพราะในการสอบจำเป็นต้องศึกษาคู่มือรวมถึงต้องเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมที่ต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นระดับสูงนั่นเอง นอกจากนี้ในการเรียนยังต้องเข้าเรียนอย่างจริงจังและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก แต่ในปัจจุบันก็ดูเหมือนว่ามีหลายที่ที่เปิดให้เรียนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆด้วยเช่นกัน อย่างไรขอให้ลองสอบถามไปทางโรงเรียนที่สอนขับรถแต่ละแห่งดูว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ได้อย่างไร

เปลี่ยนใบอนุญาตขับรถยนต์จากของประเทศตนเองมาเป็นของประเทศญี่ปุ่น

สามารถทำการขอเปลี่ยนได้ที่ศูนย์บริการใบอนุญาตขับรถยนต์โดยต้องทำการตรวจสอบเอกสารและทำการทดสอบด้วย ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

เกณฑ์หลักคือ

  • - เป็นผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปี
  • - อยู่ในประเทศนั้นๆไม่น้อยกว่า 3 เดือนหลังได้ใบอนุญาตจากประเทศตนเองมาแล้ว
  • - สายตาทั้งสองข้างต้องมากกว่า 0.7 และข้างหนึ่งๆจะต้องมากกว่า 0.3 ขึ้นไป

เอกสารที่จำเป็น

  • - ใบอนุญาตขับรถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ
  • - ใบอนุญาตขับรถยนต์ที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น
  • - Residence card
  • - หนังสือเดินทาง (เพื่อยืนยันว่าอยู่จะในประเทศนั้นๆไม่น้อยกว่า 3 เดือนหลังได้ใบอนุญาตมาแล้ว)
  • - รูปถ่าย
  • - ค่าธรรมเนียม

สถานที่ยื่นคำร้องขอเปลี่ยน (เข้าทดสอบ)
หากเป็นโตเกียว:สนามสอบใบอนุญาตขับรถยนต์ฟุจู, สนามสอบใบอนุญาตขับรถยนต์ซาเมสึ, สนามสอบใบอนุญาตขับรถยนต์โคโตะ
※ในเมืองหรือเขตอื่นๆสามารถตรวจสอบได้ที่สถานีตำรวจหรือศูนย์บริการใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของแต่ละพื้นที่

เนื้อหาในการทดสอบ
ตรวจความพร้อมร่างกาย เช่น วัดสายตาหรือทดสอบตาบอดสี และวัดความรู้เกี่ยวกับกฏจราจรของประเทศญี่ปุ่น หากผ่านก็จะทำการทดสอบความสามารถในการขับขี่อีกครั้ง

การใช้ใบอนุญาตขับขี่สากล

กรณีที่มีใบอนุญาตขับขี่สากลซึ่งเป็นรูปแบบที่กำหนดโดยประเทศสมาชิกซึ่งได้ลงนามในสัญญาเกี่ยวกับการขับขี่ยานพาหนะทางบกสากล (สัญญาเจนีวา) แล้ว ผู้ขับขี่สามารถใช้ใบอนุญาตขับขี่สากลนั้นในการขับขี่ได้

กรณีที่บุคคลหนึ่งได้อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นแล้วและต้องการจะไปสอบใบอนุญาตขับขี่สากลที่นอกประเทศญี่ปุ่น ผู้นั้นจะต้องไปอาศัยอยู่นอกประเทศญี่ปุ่นหลังได้ใบขับขี่สากลเป็นเวลามากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน จึงจะสามารถนำใบขับขี่นั้นมาใช้ได้เมื่อกลับมายังประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง

PageTop

หากจะทำการขับรถยนต์จำเป็นจะต้องมี 「ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (ประกันภัยตามกฏหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)」 ซึ่งประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจะช่วยจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถยนต์จนเป็นเหตุให้คู่กรณีได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย

การทำประกันภัยภาคสมัครใจ

สำหรับประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั้น ประกันจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่คู่กรณี(คน)ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ กรณีที่บาดเจ็บจะจ่ายสูงสุด 1,200,000 เยน กรณีเสียชีวิตจ่ายสูงสุด 30,000,000 เยน สูญเสียอวัยวะทุพพลภาพตลอดชีวิตจ่ายสูงสุด 40,000,000 เยน แต่หากเกินกว่านี้ ผู้กระทำความเสียหายต้องเป็นผู้จ่ายชดใช้เอง

กรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วทรัพย์สิน (รถของคู่กรณี อาคาร เสาสัญญาณข้างทาง แผงกั้นทาง เป็นต้น) เสียหาย ประกันภาคบังคับจะไม่ทำการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แต่อย่างใด

ซึ่งหากมี 「ประกันภัยภาคสมัครใจ」 อยู่ ประกันภัยภาคสมัครใจก็จะจ่ายชดเชยครอบคลุมให้ในส่วนที่ภาคบังคับไม่ครอบคลุม ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ค่าชดเชยมักมีจำนวนมากกว่าที่เราคาดคิดไว้เสมอ เช่นหากคู่กรณีได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงาน เราก็ต้องจ่ายค่าชดเชยรายได้ที่หยุด หรือหากรถหรืออาคารของคู่กรณีเสียหายจนทำให้เกิดผลกระทบในแง่การทำธุรกิจ เราก็ต้องจ่ายค่าชดเชยผลกระทบที่มีต่อธุรกิจนั้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่านั่นก็จะเกินกว่าขอบเขตที่ประกันภาคบังคับจะครอบคลุมได้ถึง

ประกันภัยภาคสมัครใจแม้ไม่มีการบังคับให้ทำ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่อยากให้คิดเสียดายเงินแล้วเลือกจะทำแต่ประกันภัยภาคบังคับแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขอให้ทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ด้วย

PageTop

แต่หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมาก็ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ช่วยเหลือผู้ที่บาดเจ็บ
พยายามปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บเท่าที่จะทำได้ หากบาดเจ็บหนักจนไม่ได้สติ อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหน ให้เรียกรถพยาบาลทันที (โทร:เบอร์ 119)
2. ย้ายรถไปจอดในที่ปลอดภัย
ขอให้ทำการย้ายรถไปจอดในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้อน
3. ติดต่อตำรวจ
ติดต่อหาตำรวจทันที (โทร:เบอร์110) หากไม่แจ้งตำรวจไว้จะไม่ได้ 「บันทึกหลักฐานการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์」 ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการเรียกร้องการจ่ายเงินค่าชดเชยจากประกันภัย
4. ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัย
ติดต่อไปยังบริษัทที่ตนเองได้ทำประกันไว้อยู่ ขั้นตอนการชดเชยให้แก่คู่กรณีให้กระทำผ่านบริษัทประกันภัย อย่าสัญญากับคู่กรณีว่า 「จะจ่ายค่ารักษา ค่าซ่อมให้」 โดยไม่ได้รับการยินยอมจากบริษัทประกันโดยเด็ดขาด เพราะเคยมีกรณีที่ในภายหลังไม่ได้รับเงินค่าประกันเช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นแล้วยังอยู่ในอาการตระหนกจนไม่รู้จะต้องทำอย่างไร ผู้ประสบเหตุอาจจะเอาแต่ตอบรับว่า 「ค่ะ/ครับ」 ไปเสียทุกเรื่อง แต่กรณีเช่นนี้ขอให้ตั้งสติให้ดี แล้วตอบคู่กรณีไปว่า 「ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมนั้นจะขอเช็คกับทางประกันภัยก่อน」 หรือ 「จะให้ตัวแทนจากบริษัทประกันติดต่อไป」 เพียงเท่านั้น จากนั้นให้จดชื่อ ที่ติดต่อ หมายเลขทะเบียนรถของคู่กรณีเอาไว้

หากไม่มีประกันภัยภาคสมัครใจ การจัดการทั้งหมดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นจะตกอยู่กับตนเอง รวมถึงการกำหนดสัดส่วนความผิดหรือจำนวนเงินค่าเสียหายอาจตกอยู่กับคู่กรณีแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ ดังนั้นในกรณีที่จะขับขี่รถยนต์จึงขอให้มีการทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ด้วย

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。