หมวดการรักษาพยาบาล - 14. 「หากเจ็บป่วย」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดการรักษาพยาบาล - 14. 「หากเจ็บป่วย」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาว...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「หากเจ็บป่วย」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


มหาวิทยาลัย

Meiji Gakuin University
Temple University, Japan Campus
Teikyo University

บัณฑิตวิทยาลัย

Niigata University of Health and Welfare
Kwansei Gakuin University
International University of Japan
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「หากเจ็บป่วย」

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มี 4 ฤดูและอากาศก็จะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 3 เดือน หากเป็นคนที่ไม่ชินต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศร้อนหรือหนาวอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ และการคิดง่ายๆว่าแค่เป็นหวัดคงจะไม่เป็นอะไรนั้นนอกจากจะส่งผลให้อาการของตนเองแย่ลงแล้ว ยังอาจแพร่เชื้อให้แก่คนรอบข้างได้อีกด้วย ดังนั้นหากรู้ไม่ค่อยสบายเมื่อใด ขอให้เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ทันที

แผนกอายุรกรรม:รักษาหวัด ไข้หวัด หรืออาการเจ็บป่วยอวัยวะทั่วไป
แผนกศัลยกรรม:แผลหรือการเจ็บป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด
แผนกศัลยกรรมกระดูก:รักษากระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ ปวดหลังไหล่ เป็นต้น
แผนกผิวหนัง:โรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ แผลไหม้จากความร้อนหรือเย็น
แผนกเด็กอ่อน:ตรวจรักษาเด็กเล็กจนถึงเด็กมัธยม
แผนกสูตินรีเวช:รักษาโรคเฉพาะของผู้หญิง การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร
แผนกหูคอจมูก:รักษาโรคเกี่ยวกับหู คอ จมูก
แผนกจักษุ:รักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา
แผนกจิตเวช:รักษาอาการทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคเบื่ออาหาร โรคทานแล้วอาเจียน (บูลิเมีย) โรควิตกจริต
แผนกศัลยกรรม:รักษาแผลไหม้ แผลไหม้จากความเย็น กระ ไฝ หรือศัลยกรรมด้านความงาม เป็นต้น

ขอให้ทำการตรวจสอบด้วยว่าในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่มีสถานพยาบาลแบบไหนบ้าง และแต่ละที่มีแผนกอะไรอยู่บ้าง กรณีที่ไม่ทราบว่าจะต้องไปรักษาที่ไหนดี ขอให้ดูอาการของตนเองเทียบกับข้อมูลด้านบนแล้วโทรไปสอบถามกับสถานพยาบาลใกล้บ้านที่มีแผนกนั้นๆอยู่

โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลตามมหาวิทยาลัยอาจมีแผนกครบทั้งหมดแต่ต้องใช้เวลารอนาน นอกจากนี้ หากไม่มีใบส่งตัวจากแพทย์ผู้รักษาในเขตของเราไปด้วย ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะแพงขึ้นมาก ก่อนอื่นขอแนะนำให้ไปรักษากับแพทย์ในพื้นที่ที่ตนอาศัยก่อน จากนั้นหากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอุปกรณ์ในการรักษาไม่พร้อม แพทย์ก็จะออกใบส่งตัวให้ไปรักษากับทางโรงพยาบาลขนาดใหญ่อีกครั้ง

※สถานพยาบาลที่มีเตียงเกิน 20 เตียงขึ้นไปเรียก 「โรงพยาบาล」 หากมีเตียงน้อยกว่า19 เตียง จะเรียก 「เวชสถาน」(「คลินิก」 หรือ 「ศูนย์การแพทย์」

PageTop

หากแพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ก็ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางรพ.ด้วย หากต้องนอนรพ.โดยทั่วไปแล้วต้องใช้เอกสารดังนี้

  • - แบบฟอร์มการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ใบยินยอม
  • - ใบวินิจฉัยของแพทย์
  • - ประกันสุขภาพ
  • - ตราประทับหรือลายเซ็น

ในการเข้ารักษาตัวในรพ.ต้องมีผู้ค้ำประกันและเงินประกันด้วย โดยทั่วไปแล้วผู้ค้ำประกันน่าจะสามารถขอร้องผู้ปกครอง ครูที่โรงเรียน หรือหัวหน้าที่ทำงานให้ช่วยได้ แต่หากไม่มีใครสามารถช่วยค้ำประกันได้ขอให้ปรึกษากับทางรพ. เพราะหากจ่ายเงินประกันไว้เป็นจำนวนมากพอ บางกรณีก็สามารถยกเว้นไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันได้

เงินประกันโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 50,000~100,000 เยน ซึ่งจะถูกนำไปคำนวณรวมเป็นค่าใช้จ่ายตอนออกรพ. ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาใบรับเงินประกันหรือใบเสร็จไว้ให้ดีด้วย

นอกจากนั้นแล้ว ในการเข้ารักษาที่รพ.จำเป็นต้องเตรียมของไปเองดังนี้

  • - ชุดชั้นใน เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน
  • - ชุดนอน
  • - ผ้าขนหนู
  • - ของใช้ส่วนตัว (แปรงสีฟัน สบู่ หวี ที่โกนหนวด เป็นต้น)
  • - รองเท้าสลิปเปอร์ รองเท้าแตะ
  • - กระดาษทิชชู่
  • - ตะเกียบ ช้อน แก้ว
  • - ผ้าอนามัย (เฉพาะผู้หญิง)

เนื่องด้วยโทรศัพท์มือถืออาจส่งสัญญาณรบกวนเครื่องมือทางการแพทย์ได้ ดังนั้นระหว่างที่อยู่ในรพ.ขอให้พยายามงดใช้โทรศัพท์มือถือ ให้ใช้โทรศัพท์สาธารณะแทน หรือหากจำเป็นต้องใช้มือถือจริงๆก็ขอให้ออกไปใช้ตรงสถานที่ที่อนุญาตให้ใช้ได้ เช่น โถงประตู เป็นต้น

ค่าเตียงเดี่ยวแยกพิเศษ

ห้องพักในโรงพยาบาลโดยปกติจะเป็นห้องรวมขนาดใหญ่มี 6 เตียง แต่หากต้องการพักในห้องคนน้อยหรือห้องแยกเดี่ยวก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายพิเศษเพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่าค่าเตียงเดี่ยวแยกพิเศษ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะไม่รวมอยู่ในค่าประกัน เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ซึ่งค่าเตียงเดี่ยวของแต่ละรพ.ก็จะมีราคาแตกต่างกันไป

หากคนไข้เป็นผู้ร้องขอเตียงเดี่ยวแยกพิเศษเองก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ในบางกรณีรพ.อาจจะเหลือเตียงว่างซึ่งเป็นเตียงเดี่ยวแยกพิเศษอยู่เท่านั้นซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งหากไม่ได้รับความยินยอมจากคนไข้ ทางรพ.จะไม่สามารถคิดค่าเตียงเดี่ยวแยกพิเศษจากคนไข้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตอนที่กรอกแบบฟอร์มเข้านอนรพ.หรือตอนเซ็นชื่อยินยอมขอให้ตรวจสอบให้ดีอีกครั้งด้วยว่าเราจำเป็นต้องจ่ายค่าเตียงเดี่ยวแยกพิเศษหรือไม่ก่อนเซ็นชื่อทุกครั้ง

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。