หมวดแผ่นดินไหว - 6. 「สิ่งที่ฉันทำได้ ยามเกิดภัยพิบัติ?」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดแผ่นดินไหว - 6. 「สิ่งที่ฉันทำได้ ยามเกิดภัยพิบัติ?」 | คู่มือการจัดการภา...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「สิ่งที่ฉันทำได้ ยามเกิดภัยพิบัติ?」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


มหาวิทยาลัย

Sapporo University
Teikyo University
Temple University, Japan Campus
Meiji Gakuin University

บัณฑิตวิทยาลัย

Kwansei Gakuin University
International University of Japan
Niigata University of Health and Welfare
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「สิ่งที่ฉันทำได้ ยามเกิดภัยพิบัติ?」

กรณีที่เกิดภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหวขึ้นหรือตอนที่ต้องทำการอพยพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ท่ามกลางความแตกตื่นในสถานการณ์ร้ายแรง เช่น ไม่รู้ว่าจะต้องอพยพไปที่ใด สถานที่อพยพหรือจุดอพยพมีอะไรอยู่บ้าง หรือจะต้องเดินทางไปที่นั่นอย่างไร สถานการณ์เช่นนี้สิ่งที่สำคัญคือการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อการตัดสินใจเคลื่อนย้ายที่เหมาะสม ซึ่งเรื่องเหล่านี้สำหรับคนญี่ปุ่นเองก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และถ้ายิ่งเป็นกรณีของชาวต่างชาติก็ย่อมมีอุปสรรคในด้านภาษาญี่ปุ่น และยังอาจไม่คุ้นเคยกับสภาพวิถีชีวิตของญี่ปุ่นมากนักทำให้การอพยพอาจเป็นได้ช้า หรืออพยพไปแล้วอาจไม่ได้รับความช่วยจากสถานที่อพยพหรือจุดอพยพได้เต็มที่นัก และเป็นไปได้สูงมากว่าชาวต่างชาติอาจโดนคนรอบข้างทิ้งให้เผชิญชะตากรรมเอง ซึ่งการอยู่ท่ามกลางคนญี่ปุ่นที่สื่อสารภาษาต่างชาติไม่เก่งอาจทำให้ชาวต่างชาติรู้สึกเครียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ไม่มีความรู้เรื่องการรับมือกับอุบัติภัยที่เพียงพอด้วยแล้วก็จะยิ่งทำให้รู้สึกไม่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น

ดังนั้น จะสามารถช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ต้องพบเจอสถานการณ์นั้นได้อย่างไรบ้าง

ตอนเกิดภัยพิบัติรุนแรงเช่นแผ่นดินไหวขึ้น แต่ละจังหวัดหรือแต่ละท้องถิ่น รวมถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆจะมีการจัดตั้ง 「ล่ามอาสาสมัคร」 ขึ้น เพื่อช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ต้องลำบากเพราะไม่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ ซึ่งล่ามอาสาสมัครก็จะมีหน้าที่หลักดังนี้

  • 1-1. ล่ามให้กับผู้ประสบภัยชาวต่างชาติที่ศูนย์อพยพหรือโรงพยาบาล
  • 1-2. ล่ามหรือแปลให้กับสำนักงานดำเนินมาตรการรับมือภัยพิบัติหรือศูนย์ข้อมูลการรับมือภัยพิบัติ
  • 1-3. เป็นตัวแทนประสานงานช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลเรื่องการรับมือภัยพิบัติ การอพยพ และการใช้ชีวิตให้กับชาวต่างชาติ

PageTop

ล่ามอาสาสมัครช่วยเหลือชาวต่างชาติไม่ใช่แค่คนญี่ปุ่นที่เก่งภาษาเท่านั้น แต่ยังมีบรรดาคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น เช่น นักศึกษา พนักงาน อาจารย์สอนภาษา ที่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้อีกด้วย ซึ่งคนเหล่านั้นไม่ใช่แค่เพียงแปลระหว่างภาษาบ้านเกิดกับภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังคุ้นชินกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในบ้านเกิดตนเองอีกด้วยดังนั้นจะทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวต่างชาติที่ประสบภัยได้ดียิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าล่ามของประเทศนั้นๆย่อมทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากกว่าล่ามอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น ซึ่งขอให้ลองรับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครเหล่านั้นด้วยก็ได้

「อาสาสมัครรับมือภัยพิบัติโตเกียว (ภาษาศาสตร์)」

การจัดตั้ง 「อาสาสมัครด้านภาษาเพื่อรับมือภัยพิบัติ」 เพื่อช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ประสบภัยพิบัติในโตเกียว

รายละเอียดกิจกรรม

1 สนับสนุนด้านภาษาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติ ณ ศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติสำหรับชาวต่างชาติ สำนักงานส่วนราชการ (เป็นหน่วยที่ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อเกิดภัยพิบัติโดยสำนักงานดำเนินมาตรการรับมือภัยพิบัติโตเกียว)
2 ช่วยแปลหรือล่ามให้กับผู้ประสบภัยชาวต่างชาติที่ไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่น กรณีที่มีการร้องขอการสนับสนุนมาจากหมู่บ้าน เมือง เขต หรือจังหวัด
ตัวอย่างสถานที่ที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่
(1) ศูนย์อพยพ
(2) ศูนย์อาสาสมัครภัยพิบัติประจำพื้นที่
(3) หน่วยงานต่างๆ เช่น รพ.ประจำเมือง หรือ ศูนย์พยาบาลชั่วคราวเมื่อเกิดภัยพิบัติ
3 เข้ารับการฝึกอบรมอาสาสมัคร (ด้านภาษา) สำหรับการรับมือภัยพิบัติโตเกียวเพื่อเพิ่มทักษะให้ดียิ่งขึ้น
※ นอกจากเวลาที่หมู่บ้าน เมือง เขตหรือจังหวัดต้องการใช้ล่ามในการทำหน้าที่แล้ว ในเวลาปกติเองก็ยังมีงานที่อาจร้องขอให้ช่วยเช่นกัน

อาสาสมัครสามารถสมัครเข้ามาทำได้ตลอดเวลาไม่เกี่ยงว่าจะเป็นชนชาติใด รายละเอียดสามารถดูได้เพิ่มเติมจากโฮมเพจ

「ล่ามอาสาสมัครรับมือภัยพิบัติที่เมืองมิยาซากิ」

วันที่ 14 มิถุนายน 2008 เมืองมิยาซากิได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวบนฝั่งบริเวณเมืองอิวาเทะและมิยาซากิ จึงได้จัดตั้ง 「ล่ามอาสาสมัครรับมือภัยพิบัติ」 ขึ้น

รายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่:เข้าไปยังพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และช่วยเหลือด้านการล่ามและแปลหัวข้อสื่อสารจากเจ้าหน้าที่ศูนย์อพยพให้แก่ชาวต่างชาติที่อาศัยในเมือง เรื่องที่จะต้องแปลก็ดังเช่นด้านล่าง

  • (1)ช่วงเกิดภัยพิบัติ・・・ทำหน้าที่ล่ามและแปลให้กับศูนย์อพยพ ตามการร้องขอจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง (จังหวัดมิยาซากิ หน่วยงานท้องถิ่น ศูนย์อาสาสมัครรับมือภัยพิบัติ เป็นต้น)
    (2)ช่วงเวลาปกติ・・・เข้าร่วมการฝึกอบรมที่จัดขึ้นโดยจังหวัด หรือการฝึกรับมือภัยพิบัติซึ่งจัดโดยหน่วยงานท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน หรือองค์กรด้านสวัสดิการสังคม หรือเข้ารับการฝึกฝนที่ศูนย์อาสาสมัครรับมือภัยพิบัติ เป็นต้น

รายละเอียดสามารถดูได้เพิ่มเติมจากโฮมเพจ

「ล่ามและนักแปลอาสาสมัครเพื่อรับมือภัยพิบัติเมืองโกเบ」

ตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ฮันชินอาวาจิ เมืองโกเบเองก็ได้ทำการจัดตั้งล่ามอาสาสมัครขึ้นช่นกัน

「ล่ามอาสาสมัครรับมือภัยพิบัติ」 จะช่วยเหลือสนับสนุนด้านการล่ามและแปลที่ศูนย์อพยพหรือศูนย์ราชการให้กับชาวต่างชาติที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในยามที่เกิดเหตุภัยพิบัติรุนแรง เช่น แผ่นดินไหวหรือน้ำท่วม เป็นต้น รายละเอียดสามารถดูได้เพิ่มเติมจากโฮมเพจ

สำหรับล่ามอาสาสมัครในพื้นที่อื่นๆสามารถตรวจสอบได้จากโฮมเพจของแต่ละจังหวัดหรือหน่วยงานท้องถิ่น หรืออาจสอบถามได้ที่ผู้ประสานงาน

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。