หมวดอุบัติเหตุ และเหตุร้ายต่างๆ - 10. 「ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยหรือไม่?」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดอุบัติเหตุ และเหตุร้ายต่างๆ - 10. 「ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยหรือไม่?」...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยหรือไม่?」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


มหาวิทยาลัย

Meiji Gakuin University
Temple University, Japan Campus
Teikyo University

บัณฑิตวิทยาลัย

Niigata University of Health and Welfare
International University of Japan
Kwansei Gakuin University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยหรือไม่?」

ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยมากแค่ไหนก็ตามก็ยังมีเรื่องที่จะต้องระมัดระวัง เช่น ไม่เดินคนเดียวตามถนนมืดๆ ไม่ไปเที่ยวจนดึกดื่น ไม่นำไซริวการ์ด โทรศัพท์มือถือหรือของที่มีข้อมูลส่วนบุคคลวางไว้ห่างจากตัว ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังในทุกๆวัน

อาชญากรรมไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องราวใหญ่โตที่ออกข่าวทางนสพ.หรือโทรทัศน์เท่านั้น แต่ที่อยู่รอบๆตัวเรามักจะยังเป็นปัญหาขนาดเล็ก เช่นนั้นแล้วมีอาชญากรรมแบบไหนและเราจะระมัดระวังอย่างไรกันได้บ้าง

1. การฉกชิงวิ่งราว

เช่นการเอาของใส่ตะกร้าหน้าจักรยานแล้วมีมอเตอร์ไซค์วิ่งมาจากด้านหลังมาฉวยเอาสิ่งของในตะกร้าไป นอกจากนี้ยังมีกรณีที่มัวแต่เดินคุยมือถือเพลินจนโดนฉวยเอากระเป๋าที่ต้องถือด้วยมือข้างเดียวไป ซึ่งหากไม่ต้องการประสบกับ 「การฉกชิงวิ่งราว」 เหล่านี้ จะต้องระมัดระวังดังนี้

  • - อย่าสะพายกระเป๋าออกทางฝั่งถนน
  • - สะพายกระเป๋าพาดตัว (=คล้องกระเป๋าไว้ที่ไหล่แล้วพาดมาด้านข้างฝั่งตรงข้าม)
  • - มีตาข่ายคลุมหากเอาของใส่ในตะกร้าหน้ารถจักรยาน
  • - ไม่เดินไปคุยโทรศัพท์มือถือไป
2. การขโมย

การถูกขโมยกระเป๋าหรือกระเป๋าสตางค์ หรือถูกขโมยรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้ ถือเป็นปัญหาใกล้ตัวเรามาก แต่หากได้ลองถูกขโมยครั้งหนึ่งแล้วก็ย่อมไม่มีครั้งที่สองตามมา เราควรใส่ใจกับของที่จะนำติดตัวไปนอกบ้านให้มากเพื่อไม่ให้ต้องตกเป็นเหยื่อ และหากเป็นไปได้ พยายามอย่าวางของทิ้งไว้ห่างตัวเรา

  • - พยายามไม่นำของมีค่าติดตัวออกมาข้างนอก เงินติดตัวก็นำมาเท่าที่จำเป็นต้องใช้
  • - ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยมากแค่ไหนก็ตามก็ยังมีเรื่องที่จะต้องระมัดระวัง เช่น ไม่เดินคนเดียวตามถนนมืดๆ ไม่ไปเที่ยวจนดึกดื่น ไม่นำไซริวการ์ด โทรศัพท์มือถือหรือของที่มีข้อมูลส่วนบุคคลวางไว้ห่างจากตัว ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังในทุกๆวัน
  • - ขอให้นำจักรยานไปลงทะเบียนป้องกันการโจรกรรมกับตำรวจด้วย
  • - จักรยานควรล็อกสองชั้นทั้งแม่กุญแจและโซ่คล้องพร้อมกุญแจ
  • - และในทางกลับกันก็ห้ามนำจักรยาน เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องเรือนที่วางอยู่บริเวณที่ทิ้งขยะหรือบนหนทางกลับมาบ้านโดยพลการโดยเด็ดขาด
3. การย่องเบา

ก่อนจะออกข้างนอกเรามักจะล็อกประตูและหน้าต่างอยู่แล้วเป็นปกติ แต่เพียงแค่ตัวล็อกของทางอพาร์ทเมนต์หรือการล็อกด้วยกุญแจเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หน้าต่างก็ควรจะต้องหากุญแจมาล็อกเพิ่ม หรือหากกุญแจของทางอพาร์ทเม้นต์ไม่ค่อยแข็งแรงเราอาจร้องขอให้คนดูแลช่วยเปลี่ยนให้ก็ได้ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องดังนี้

  • - หากต้องออกจากห้องไปใกล้ เช่น ออกไปทิ้งขยะข้างนอก ก็ต้องล็อกกุญแจให้ดีทุกครั้ง
  • - หากมีไปรษณีย์หรือหนังสือพิมพ์ที่สามารถส่งผ่านประตูหรือใส่กล่องไปรษณีย์ได้มาส่ง ให้สอดส่องให้ดีและพยายามรับของจากในห้อง อย่าให้เขาเอามือเข้ามาในห้องได้ และต้องมีการใส่ตัวปิดกั้น (cover) จากด้านในให้หนาแน่นอยู่เสมอด้วย
  • - ไม่ทิ้งจดหมายต่างๆไว้ในกล่องไปรษณีย์ เพราะจะทำให้คิดได้ว่าเจ้าของห้องไม่ค่อยอยู่และจะทำให้เกิดกรณีย่องเบาเข้าห้องได้ง่าย
  • - อย่าวางของมีค่าไว้ในห้องตรงตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย พวกเงินเก็บต่างๆพยายามฝากเข้าเก็บไว้ในธนาคาร
4. การหลอกลวงให้โอนเงินทางโทรศัพท์

สมัยนี้มีการโทรเข้ามาหลอกลวงโดยมักอ้างว่าเป็นตำรวจ ทนาย เจ้าหน้าที่รัฐ หรือพนักงานธนาคารแล้วสั่งให้เหยื่อไปโอนเงินให้ ที่ญี่ปุ่นนั้น หน่วยงานสาธารณะไม่สามารถโทรเข้ามาให้ประชาชนไปโอนเงินให้โดยตรงได้ หากมีโทรศัพท์เข้ามาพูดเรื่องเงินโดยเราไม่ทราบที่มาที่ไป ก่อนอื่นให้ถามไปว่า 「นี่โทรศัพท์หลอกลวงล่ะสิ?」 จากนั้นก็ให้เงียบไม่ต้องตอบโต้อะไรอีก

  • - และหากฝ่ายที่โทรมาแล้วเราไม่รู้จักจะอ้างว่าเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐก็ตาม ถึงอย่างไรก็ห้ามบอกชื่อ ชื่อคนในครอบครัว ที่อยู่ หรือเลขที่บัตรเครดิตโดยเด็ดขาด
  • - กรณีที่พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ ขอให้อย่าบอกข้อมูลอะไรไปเด็ดขาด บอกไปอย่างเดียวว่า 「ไม่เข้าใจที่พูด」
  • - กรณีที่ไม่รู้ว่าควรจะตัดสินใจทำอย่างไร ให้ตอบไปครั้งเดียวว่า 「ขอเช็คดูก่อน」 แล้ววางสายทันที

PageTop

ในปัจจุบัน ขั้นตอนการส่งผ่านข้อมูลที่ใกล้ตัวเราที่สุดคือการใช้อินเตอร์เน็ต แต่เราก็จะไม่อาจทราบข้อมูลทั้งหมดของฝ่ายตรงข้ามที่รับข้อมูลของเราได้ ทำให้เพียงคลิ๊กเดียวก็อาจพาเราเข้าไปพัวพันปัญหาได้ ยิ่งโดยเฉพาะธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น การทำสัญญาออนไลน์ การประมูลทางเน็ต หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ยิ่งต้องระมัดระวังให้มาก

1. การเรียกเก็บเงินทั้งที่เราไม่เคยใช้จริง (ใบแจ้งหนี้เท็จ)

หากจำไม่ได้ว่าตนเองเคยได้ใช้บริการหรือเวบไซต์เสียเงินหรือไม่ ให้เมินเฉยต่อการเรียกเงินนั้นไปก่อน อย่าถามอะไรไปกับฝ่ายตรงข้ามเด็ดขาด เพราะหากถามอะไรไปก็เท่ากับบอกข้อมูลส่วนบุคคลให้เขารู้ หากยังติดต่อมาบ่อยๆให้ลองปรึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค

2. มักถูกชี้ชวนทางเมล์โดยอ้างเป็นองค์กรสาธารณะ ธนาคาร บริษัท เพื่อให้ใส่ ID, พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น (phishing fraud)

ก่อนที่จะกรอกข้อมูลส่วนบุคคลลงไป ต้องตรวจสอบ URL หรือ Title ของโฮมเพจนั้นๆให้แน่ใจเสียก่อน หากรู้สึกว่าไม่ชอบมาพากลให้ปิดเบราเซอร์นั้นแล้วเข้าโฮมเพจของหน่วยงานที่ต้องการใหม่ตั้งแต่แรกอีกที หรืออาจโทรศัพท์ไปถามกับทางหน่วยงานนั้นๆโดยตรงให้แน่ใจก่อน

3. ชนะประมูลของในเน็ตและโอนเงินไปแล้ว แต่ไม่มีของส่งมา

ก่อนทำการประมูลขอให้ทำการตรวจสอบเรื่องที่ต้องระวังก่อนว่าเวบไซต์ของบริษัทนั้นๆเคยมีกรณีหลอกลวงหรือไม่ รวมถึงนโยบายการคืนสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงด้วย นอกจากนี้ ก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่มีราคาสูงด้วย หากตกเป็นผู้เสียหายก็อย่าเพิ่งยอมแพ้ ขอให้ลองทำดังต่อไปนี้

  • - พยายามเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการติดต่อซื้อขายให้ได้มากที่สุด เช่น ชื่อ ที่อยู่ บัญชีธนาคาร เมล์ติดต่อของอีกฝ่าย ชื่อ เมล์ที่ใช้ติดต่อแลกเปลี่ยนของ หรือรายละเอียดสินค้า เป็นต้น
  • - ให้อีกฝ่ายส่งพัสดุมาเป็นแบบลงทะเบียนที่ต้องมีผู้เซ็นรับก่อนทำการจ่ายเงิน พัสดุลงทะเบียนจะเป็นหลักฐานยืนยันให้กับอีกฝ่ายด้วยว่าเราต้องการที่จะรับของนี้อย่างแท้จริง
  • - แจ้งการเป็นผู้เสียหายต่อบริษัทที่ดำเนินการประมูลและส่งคำร้องเพื่อคืนเงิน
  • - แจ้งตำรวจ
  • - แจ้งธนาคารเรื่องที่ถูกหลอกลวงให้โอนเงิน เพราะธนาคารมีระบบ 「การเรียกคืน」 เงินที่โอนไป แต่ระบบนี้จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากฝ่ายตรงข้ามด้วย ดังนั้นในกรณีของการหลอกลวงให้โอนเงิน การเรียกคืนก็จะทำได้ยากยิ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย

หากตกเป็นผู้เสียหายไม่ว่าจากกรณีใด ขอให้รีบไปแจ้งตำรวจ ทนาย(ที่รับปรึกษาโดยไม่เสียค่าบริการ) หรือศูนย์ให้คำปรึกษาผู้บริโภคทันที โดยให้มีอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่จากโรงเรียน หรือหัวหน้าที่ทำงานชาวญี่ปุ่นติดตามไปด้วย อย่าพยายามแก้ปัญหาเองลำพัง ให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。