หมวดอุบัติเหตุ และเหตุร้ายต่างๆ - 12. 「การขี่จักรยานก็อันตรายขนาดนี้เชียวหรือ!」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดอุบัติเหตุ และเหตุร้ายต่างๆ - 12. 「การขี่จักรยานก็อันตรายขนาดนี้เชียวหรื...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「การขี่จักรยานก็อันตรายขนาดนี้เชียวหรือ!」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

Niigata University of Health and Welfare
Kwansei Gakuin University
International University of Japan

มหาวิทยาลัย

Teikyo University
Meiji Gakuin University
Temple University, Japan Campus
Sapporo University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「การขี่จักรยานก็อันตรายขนาดนี้เชียวหรือ!」

เคยมีกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้ว

  • 1. จักรยาน 2 คันปั่นมาบนฟุตบาทแล้วเกิดชนกันเข้า จักรยานคันหนึ่งเสียการทรงตัวจนล้มแล้วตกลงไปบนถนนที่รถวิ่ง และคนนั้นก็ถูกรถเก๋งที่วิ่งมาจากด้านหลังทับเอาจนเสียชีวิต
  • 2. มีจักรยานคันหนึ่งขี่ข้ามทางแยกโดยไม่ดูสัญญาณจราจร ทำให้รถบรรทุกคันหนึ่งต้องหักหลบจนไปชนอาคารเข้าและคนขับรถบรรทุกก็เสียชีวิต
  • 3. ผู้หญิงอายุ 71 ปีกับเด็กสาวอายุ 14 ปีขี่จักรยานชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้หญิงอายุ 71 ปีเสียชีวิต สาเหตุเกิดจากการขับขี่ในเวลากลางคืนและรถจักรยานของทั้งคู่ก็ไม่ได้เปิดไฟ

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ต้องจ่ายชดใช้ค่าเสียหายดังกรณีด้านล่างนี้ (จากเวบไซต์ของกรมตำรวจนครบาลโตเกียว)

  • - นักเรียนม.ปลายได้ขี่ผิดกฏจนชนเข้ากับคนเดินถนนขณะกำลังขี่จักรยานไปโรงเรียน จนเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่กระดูกสันหลัง 【ค่าชดเชย】60,080,000 เยน
  • - เด็กสาวม.ปลายคนหนึ่งขี่จักรยานในเวลากลางคืนโดยไม่เปิดไฟพร้อมเล่นโทรศัพท์มือถือไปด้วยจึงชนเข้ากับนางพยาบาลคนหนึ่งจนได้รับบาดเจ็บสาหัส 【ค่าชดเชย】50,000,000 เยน
  • - เด็กม.ปลายคนหนึ่งกำลังขี่จักรยานกลับบ้านไปบนถนนที่มีไฟถนน ขณะนั้นเองก็ชนเข้ากับคนที่กำลังเดินอยู่บนถนนเพราะมัวแต่หันไปมองรถไฟ จนเป็นเหตุให้คนเดินถนนผู้นั้นถึงแก่ความตาย 【ค่าชดเชย】39,120,000 เยน

จักรยานในทางกฏหมายจราจรทางบกนั้นถูกจัดเป็น 「ยานพาหนะขนาดเบา」 จึงต้องปฏิบัติตามกฏเหมือนกับรถยนต์ การนำรถไปวิ่งบนท้องก็ต้องวิ่งบนทางที่กำหนดไว้ และหากทำผิดกฏหมายก็ต้องได้รับโทษเช่นกัน ตอนที่ทำการขับขี่จักรยานก็จำเป็นต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังสูงสุดให้เหมือนกับการขับขี่รถยนต์เช่นกัน

  • 1. จักรยานถือเป็นยานพาหนะขนาดเบาดังนั้นตามหลักการแล้วก็ต้องวิ่งบนถนน ซึ่งการวิ่งบนถนนจะต้องวิ่งทางฝั่งซ้ายของท้องถนนเท่านั้น ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ที่สามารถนำรถขึ้นมาวิ่งบนทางเท้าได้

    • กรณีที่มีป้ายสัญลักษณ์บ่งบอกว่าให้วิ่งได้
    • ผู้ขี่ที่เป็นเด็กอายุยังไม่ถึง 13 ปีบริบูรณ์ คนชราที่อายุมากกว่า 70 ปี และผู้พิการทางร่างกาย
    • กรณีที่การวิ่งบนท้องถนนเกิดความไม่สะดวก เช่น มีสิ่งกีดขวางบนท้องถนน (มีรถจอดขวางอยู่) เป็นต้น

    แต่กรณีที่นำจักรยานขึ้นมาขี่บนทางเท้าต้องขี่ให้ชิดฝั่งถนนและขี่ช้าๆ และต้องให้สิทธิ์ผู้เดินเท้าได้ใช้ทางก่อน

  • 2. การขับขี่ด้วยความมึนเมาเป็นเรื่องต้องห้าม กรณีที่เมาแล้วขับขี่จะโดนโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน1,000,000 เยน
  • 3. ห้ามซ้อนสอง (ยกเว้น กรณีเป็นเด็กอายุไม่ถึง 6 ปีบริบูรณ์สามารถซ้อนท้ายได้)
  • 4. ห้ามขี่คู่ขนานไปพร้อมกัน 2 คัน (ข้ามขี่คู่ขนาน)
  • 5. ขับขี่ในเวลากลางคืนต้องเปิดไฟด้วยทุกครั้ง

นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องต่อไปนี้ด้วย

  • - อย่าขี่ไปใช้โทรศัพท์มือถือไป
  • - อย่าสวมใส่หูฟัง (earphone, headphone) หรือฟังวอล์กแมนระหว่างขับขี่
  • - อย่ากางร่มขณะขับขี่จักรยานในวันฝนตก หากจำเป็นต้องขี่ท่ามกลางฝนขอให้สวมใส่ชุดกันฝนแทน
  • - ตอนจะเลี้ยวหรือออกมาจากซอยเพื่อเข้าสู่ถนนใหญ่จะต้องชะลอหรือหยุดเพื่อดูก่อนทุกครั้ง

หากถูกตำรวจจับในข้อหาทำผิดกฏจราจรจะไม่สามารถอ้างได้ว่า 「ไม่รู้กฏ」 เพราะหากเกิดอุบัติเหตุแล้วอีกฝ่ายได้รับบาดเจ็บขึ้นมา จะถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงมาก ดังนั้นในการขับขี่จึงต้องระมัดระวังให้มาก

PageTop

หากประสบอุบัติเหตุ ไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายผิดหรือเป็นผู้เสียหาย ก่อนอื่นขอให้ดำเนินการดังนี้

  • 1. ทำการปฐมพยาบาล

    เช็คอาการบาดเจ็บของตนเองและคู่กรณี หากบาดเจ็บหนักให้เรียกรถพยาบาล (เบอร์ : 119)

  • 2. ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

    ขอให้ติดต่อสถานีตำรวจทันที(เบอร์:110) ถ้าไม่แจ้งตำรวจเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุเอาไว้เราจะไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเอกสารนี้จำเป็นต้องใช้ในการขอเบิกเงินประกันในภายหลัง

  • 3. ขอทราบชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อของคู่กรณีไว้ด้วย
  • 4. หากมีประกันภัยก็ขอให้ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยด้วย

กรณีที่บาดเจ็บ แม้จะไม่หนักหนาสาหัสแต่ก็ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลด้วย และหากเป็นไปได้ ในการดำเนินการใดๆขอให้มีคนญี่ปุ่นที่รู้จัก (เช่น อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ที่โรงเรียน หรือเพื่อนที่บริษัท) เป็นที่ปรึกษาช่วยดำเนินการด้วย

PageTop

การขึ้นทะเบียนป้องกันอาชญากรรมเมื่อซื้อจักรยาน・เปลี่ยนแปลงการขึ้นทะเบียนจักรยานที่ได้รับมา

ถ้าซื้อจักรยานมาใหม่จำเป็นต้องนำไป 「ลงทะเบียนป้องกันการโจรกรรม」 เพื่อเป็นหลักฐานว่าจักรยานคันนี้เป็นของตนเองจริง การลงทะเบียนนี้สามารถทำได้ที่ร้านที่ซื้อจักรยานมาได้เลย หรือกรณีที่ได้รับจักรยานมาจากเพื่อนขอให้เช็คด้วยว่าจักรยานได้รับการลงทะเบียนไว้แล้วหรือยัง หากมีการลงทะเบียนไว้แล้วก็ต้องให้ผู้ที่ลงทะเบียนไว้นั้นเขียน 「เอกสารเปลี่ยนผู้ถือครอง」 (=เอกสารที่แสดงว่า ฉันขอมอบจักรยานคันนี้ให้แก่คนผู้นี้) โดยจะต้องไปดำเนินการเปลี่ยนทะเบียนป้องกันการโจรกรรมที่ร้านขายจักรยานที่อยู่ใกล้เคียงโดยต้องนำทะเบียนต่างด้าวไปด้วย

ห้ามเก็บจักรยานที่จอดทิ้งไว้มาใช้

คิดว่าน่าจะคุ้นตากับภาพที่จักรยานสภาพพอใช้ได้ถูกนำมาจอดทิ้งไว้ตามหน้าสถานีหรือมุมของถนนเป็นเวลาหลายๆวัน แต่ถึงอย่างไรก็ห้ามนำจักรยานเหล่านั้นมาใช้ตามอำเภอใจเด็ดขาด เพราะตามที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้วว่าจักรยานจะมีการลงทะเบียนไว้ ดังนั้นหากตำรวจลองตรวจสอบดูก็จะทราบว่าเป็นจักรยานที่เราเก็บมาใช้โดยพลการและเราอาจโดนข้อหายักยอกทรัพย์ได้

จอดในที่ที่กำหนด

หากมีการนำจักรยานไปจอดทิ้งไว้นอกสถานที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นที่จอดจักรยานแล้ว จักรยานคันนั้นจะถูกถือว่าเป็น 「จักรยานที่ถูกปล่อยทิ้งไว้」 และหากต้องการจักรยานที่ถูกปล่อยทิ้งไว้กลับคืนก็จะต้องไปขอรับจากสถานที่ที่กำหนดและต้องจ่ายเงินเพื่อขอรับคืนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจักรยานก็ควรจะต้องจอดไว้ในสถานที่ที่ระบุด้วย

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。