หมวดแผ่นดินไหว - 1. 「การเตรียมพร้อมในทุกวันเป็นสิ่งสำคัญ」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดแผ่นดินไหว - 1. 「การเตรียมพร้อมในทุกวันเป็นสิ่งสำคัญ」 | คู่มือการจัดการ...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「การเตรียมพร้อมในทุกวันเป็นสิ่งสำคัญ」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


มหาวิทยาลัย

Sapporo University
Teikyo University
Temple University, Japan Campus
Meiji Gakuin University

บัณฑิตวิทยาลัย

Niigata University of Health and Welfare
Kwansei Gakuin University
International University of Japan
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「การเตรียมพร้อมในทุกวันเป็นสิ่งสำคัญ」

เวลาบ่าย 2 โมง 46 นาทีของวันที่ 11 มีนาคม 2011, เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 9 แมกนิจูด (ความรุนแรงระดับ 7) โดยมีแหล่งกำเนิดที่ใต้ทะเลจากจังหวัดอิวาเตะถึงจังหวัดมิยากิ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น อาคารบ้านเรือนกว่า 4 แสนหลังพังถล่มเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 18,524 คนเนื่องมาจากคลื่นที่ซัดเข้ามาและจากดินถล่ม และมีผู้ที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่มากกว่า 4 แสนคน

และในปี 2004 ที่จังหวัดนิอิกาตะก็เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นเช่นกัน ซึ่งเหตุดังกล่าวทำให้นักศึกษาชาวต่างชาติได้รับความเสียหายและผลกระทบเป็นจำนวนมาก

นักศึกษาชาวมาเลเซีย (ขณะนั้นศึกษาอยู่ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนากาโอกะ)

「(ถามว่าคุณมีความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวบ้างหรือไม่) เคยทราบจากรายการโทรทัศน์มาบ้างว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวให้หลบเข้าใต้โต๊ะ แต่พอถึงเวลามันก็ตื่นเต้นตกใจกับเหตุที่เกิดขึ้นมาก และแม้จะมีคู่มืออยู่ก็ตามแต่ก็แทบจะไม่สามารถทำตามนั้นได้เลย」

นักศึกษาชาวไทย (ขณะนั้นศึกษาอยู่ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนากาโอกะ)

「ตอนนั้นมันตื่นตระหนกไปหมด แล้วหลังจากนั้นก็ยังเกิดการสั่นไหวที่รุนแรงต่อเนื่องอีก ทำให้ต้องอยู่ท่ามกลางความระแวงอยู่หลายชั่วโมง ร่างกายภายนอกปลอดภัยดี แต่สภาพจิตใจก็ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่」

นักศึกษาชาวจีน (ขณะนั้นศึกษาอยู่ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยนากาโอะ)

「ทั้งกระจกทั้งจานต่างๆทะยอยกันตกลงมาแตกอยู่ตรงหน้า ตอนแรกฉันไม่ทราบเลยว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วตอนนั้นก็ไม่มีใครอยู่เลย ฉันได้แต่กอดกับเจ้าหน้าที่ผู้หญิง 3 คนแล้วก็พากันนั่งร้องกรี๊ดๆเพียงอย่างเดียว」 「ตอนนี้ที่อยากได้มากที่สุดคือการให้คำแนะนำค่ะ ฉันไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวเลย หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมากะทันหันก็ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรดี ฉันไม่มีความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติเช่นนี้สักนิดเลยค่ะ กลัวมากๆ」

(บันทึกการสัมภาษณ์: จากหนังสือเพื่อนเอเชียรายเดือน ฉบับธันวาคม 2004)

PageTop

สิ่งที่นักศึกษาทุกคนต่างกล่าวเหมือนกันก็คือ ในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ทุกคนจะตกอยู่ในสภาพที่ตื่นตระหนก สำหรับคนญี่ปุ่นที่ต้องอาศัยอยู่ในประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งแล้ว ทุกคนจะได้รับ "การฝึกรับมือภัยพิบัติ" ปีละหลายครั้งมาตั้งแต่สมัยชั้นประถมศึกษา และทุกคนล้วนแต่เคยผ่านประสบการณ์เผชิญกับแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือกลางมาบ้างตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นเมื่อห้องเกิดการสั่นกึกกักทุกคนก็จะคิดทันทีว่า "แผ่นดินไหวหรือเปล่านะ?" และหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริง ทุกคนจะคิดได้โดยอัตโนมัติว่า "ต้องรีบไปปิดแก๊ส และต้องรีบไปเปิดประตู"

แต่ถ้าเป็นกรณีของชาวต่างชาติที่มาจากประเทศซึ่งไม่ค่อยมีแผ่นดินไหวแล้ว มักไม่ค่อยมีแนวคิดว่า 「กึกกัก! → น่าจะเกิดแผ่นดินไหว!」 สักเท่าไหร่ ซึ่งจะเหมือนกับกรณีที่นักศึกษาด้านบนได้ประสบกันมา ทุกคนจะอยู่ในสภาวะที่ "ไม่รู้เลยว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น" ซึ่งนั่นน่าจะยิ่งทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกได้มากขึ้น และอย่างในกรณีของนักศึกษาคนข้างบนที่ตกใจจนไม่รู้จะทำอย่างไรได้แต่นั่งกอดกันนั้น ถ้าหากในตอนนั้นเกิดเพลิงไหม้ร่วมด้วย หรือมีของหล่นลงมาจากที่สูง หรือเกิด ... ก็จะยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้น

และถึงแม้จะมีคู่มือการรับมือภัยพิบัติซึ่งให้ไว้เป็นความรู้อยู่แล้ว แต่หากในเวลาดังกล่าวไม่สามารถควบคุมตนเองให้ตัดสินใจได้อย่างมีสติ คู่มือนั้นก็แทบไม่มีความหมายอะไร ดังนั้น แม้ว่าการควบคุมตนเองไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ต้องพยายามฝึกไปทีละนิดเพื่อให้ตนเองมีสติรับมือให้จงได้

PageTop

นั่นคือการเตรียมพร้อมเผชิญกับแผ่นดินไหวในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเตรียมพร้อมเผชิญกับแผ่นดินไหวในที่นี้ก็หมายถึง การที่ทุกๆวันเราต้องมีสติรับรู้ว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวได้อยู่เสมอ ไม่ต้องกลัวจนเกินกว่าเหตุ ในการรับมือนั้นไม่ใช่เพียงแค่รู้ว่าแผ่นดินไหวคืออะไร หรือเกิดแผ่นดินไหวแล้วต้องทำอย่างไรเท่านั้น แต่ควรจะต้องมีประสบการณ์ที่ได้เผชิญของจริงมาบ้างจึงจะดี

ถ้าเช่นนั้นแล้ว การเผชิญกับแผ่นดินไหวอย่างเป็นรูปธรรมจะต้องทำอย่างไรบ้าง

มาลองสัมผัสประสบการณ์แผ่นดินไหวกันเถอะ

แต่ละเขตจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นจะมีศูนย์รับมือภัยพิบัติหรืออาคารรับมือภัยพิบัติอยู่ ซึ่งที่นั่นจะมีมุมที่สามารถเข้าไปขอทดลองประสบการณ์แผ่นดินไหวหรือฝึกการดับเพลิงได้ และนอกจากจะได้ทดลองเผชิญกับประสบการณ์แผ่นดินไหวหรือได้ทดลองใช้เครื่องมืออุปกรณ์ดับเพลิงแล้วก็ยังสามารถฝึกการผายปอดหรือปั๊มหัวใจได้ด้วย

และในหนึ่งปีเราสามารถจัดการทัศนศึกษาดูงานที่อาคารเหล่านี้ได้หลายครั้ง ซึ่งการไปศึกษาทดลองที่นั่นน่าจะทำให้รู้สึกเหมือนได้ประสบการณ์จริง ได้เห็นได้สัมผัสกับของจริง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุ้นเคยไปเรื่อยๆ

PageTop

  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。