หมวดแผ่นดินไหว - 4. 「โทรศัพท์จะยังใช้ได้ในยามเกิดภัยพิบัติหรือไม่?」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดแผ่นดินไหว - 4. 「โทรศัพท์จะยังใช้ได้ในยามเกิดภัยพิบัติหรือไม่?」 | คู่มื...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「โทรศัพท์จะยังใช้ได้ในยามเกิดภัยพิบัติหรือไม่?」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

International University of Japan
Niigata University of Health and Welfare
Kwansei Gakuin University

มหาวิทยาลัย

Teikyo University
Temple University, Japan Campus
Meiji Gakuin University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「โทรศัพท์จะยังใช้ได้ในยามเกิดภัยพิบัติหรือไม่?」

หากตนเองต้องประสบกับภัยพิบัติ ย่อมอยากแจ้งข่าวสารสถานการณ์ให้ครอบครัวหรือคนรู้จักทราบโดยเร็ว หรือในทางกลับกัน หากครอบครัวหรือคนรู้จักอยู่ในพื้นที่ที่ประสบกับภัยพิบัติเราก็ย่อมอยากรู้สถานการณ์ความปลอดภัยของพวกเขาโดยเร็วเช่นกัน และในสถานการณ์ของภัยพิบัติ ไม่ว่าใครต่างก็จะพยายามโทรเข้าโทรออกเพื่อติดต่อกับคนในและนอกพื้นที่ภัยพิบัติทั้งสิ้น ซึ่งนั่นจะทำให้สัญญาณหรือชุมสายโทรศัพท์เกิดการติดขัดเป็นอย่างมากจนบางครั้งการติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ทำได้ยาก และยิ่งติดต่อไม่ได้ คนส่วนมากก็จะยิ่งกระหน่ำโทรซ้ำๆหลายครั้ง ทำให้คู่สายไม่เพียงพอกับการใช้งานและติดต่อยากยิ่งขึ้นเท่านั้น การส่งเมล์ด้วยโทรศัพท์มือถือก็เช่นเดียวกัน แม้ระบบการติดต่อสื่อสารจะต่างกับการโทร แต่หากมีการส่งเมล์หากันเป็นจำนวนมากก็ย่อมทำให้ระบบล่มและไม่สามารถส่งเมล์ได้เช่นกัน

ถ้าเช่นนั้นแล้ว มีวิธีการติดต่อสื่อสารใดๆในยามเกิดภัยพิบัติได้อีกหรือไม่

บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแต่ละเจ้ามักจะมีการจำกัดการสื่อสารเพื่อไม่ให้เกิดการล่มทั้งระบบเมื่อมีการใช้สายเป็นจำนวนมาก เช่นตอนที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่นีงาตะจูเอทซึเมื่อปี2007เดือนกรกฎาคม ระบบการติดต่อสื่อสารของบริษัท NTTdocomo และau ก็มีการจำกัดการใช้สายที่ 80~90% นั่นหมายความว่าถ้าต่อสายโทรศัพท์ก็จะพบความสำเร็จในการต่อสาย 1/10~1/5 และนอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดไฟดับหรือสถานีจ่ายไฟประจำภูมิภาคเกิดการล่ม การบริการก็ยังจะต้องหยุดชะงักไปด้วยเช่นกัน

แต่ทั้งนี้ สถานีจ่ายไฟประจำภูมิภาคก็จะมีการเตรียมรถจ่ายไฟฉุกเฉินร่วมกับแต่ละบริษัทเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้โดยเร็วด้วย และหากสถานีจ่ายไฟสามารถกลับมาดำเนินการได้การสื่อสารก็จะยังใช้ได้เช่นกัน

การใช้กระดานข้อความแจ้งเหตุภัยพิบัติ (Disaster Message Board)

บริษัทผู้ให้บริการมือถือแต่ละเจ้าได้จัดทำ 「กระดานข้อความแจ้งเหตุภัยพิบัติ」 ขึ้นสำหรับกรณีเกิดภัยพิบัติ ด้วยระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถมาฝากข้อความหรืออ่านข้อความจากกระดานข้อความนี้ได้

กรณีคนในพื้นที่ภัยพิบัติต้องการฝากข้อความไว้ :

  • 1-1. ให้พิมพ์เบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเองลงไป
  • 1-2. จากนั้นให้พิมพ์ข้อความยาวไม่เกิน 100 ตัวอักษร

กรณีต้องการยืนยันข้อความโดยคนนอกพื้นที่ภัยพิบัติ:

  • 2-1. ก็ให้พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ของคนในพื้นที่ภัยพิบัติที่เราต้องการเช็คสถานการณ์ความปลอดภัยลงไป
  • 2-2. จากนั้นข้อความก็จะถูกแสดงขึ้นมา

การใช้บริการกระดานข้อความนี้ค่อนข้างเป็นประโยชน์ในกรณีที่โทรศัพท์มือถือยังใช้ได้ (ยังมีสัญลักษณ์แสดงขีดสัญญาณขึ้นที่หน้าจอ) แต่ต่อสายไม่ค่อยติด

ทว่าในการจะติดต่อสื่อสารกันด้วยกระดานข้อความ ควรจะต้องมีการแจ้งไว้ให้คนในครอบครัวหรือคนรู้จักทราบถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสารเช่นนี้ไว้ก่อนล่วงหน้าด้วย เช่น ควรทำการบอกถึงวิธีใช้กระดานข้อความแจ้งเหตุภัยพิบัติทางโทรศัพท์มือถือ หรือจะต้องติดต่อเข้าใช้บริการด้วยเบอร์ใด เป็นต้น

บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์แต่ละเจ้ามีการดำเนินการของ 「บริการกระดานข้อความแจ้งเหตุภัยพิบัติ」 ไว้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

ระวังเรื่องแบตเตอรี่หมด!

เรื่องที่ต้องระวังของการใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเกิดเหตุภัยพิบัติอีกเรื่องก็คือแบตเตอรี่มือถือหมด จากการที่ต่อสายไม่ค่อยติดจึงจะทำให้คนยิ่งกดมือถือซ้ำๆมากขึ้น และแม้จะไม่มีสัญญาณแต่มือถือของเราก็จะยังคงใช้แบตเตอรี่ไปเรื่อยๆทำให้แบตเตอรี่ของเครื่องหมดได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีก็จะยิ่งหมดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้มือถือเท่าที่จำเป็น หากอยู่นอกพื้นที่บริการหรือไม่มีสัญญาณก็ควรปิดเครื่องเพื่อประหยัดแบตเตอรี่ให้อยู่ได้นานที่สุด

ตอนเกิดภัยพิบัติขึ้น ตามร้านมือถือต่างๆจะมีบริการให้ชาร์ตแบตได้โดยไม่มีค่าบริการ แต่เราเองก็ควรเตรียมชุดแบตเตอรี่สำรองเอาไว้ใช้งานในยามฉุกเฉินเองด้วย นอกจากนี้ก็ยังควรเตรียมแบตเตอรี่พลังงานแสงอาทิตย์หรือแบบปั่นไฟเองด้วยมือได้ก็จะยิ่งเป็นการดี

PageTop

สำหรับโทรศัพท์สาธารณะ ถ้าแผงวงจรหรือตัวเครื่องสื่อสารไม่มีอะไรเสียหายก็สามารถใช้งานได้แม้ไฟจะดับ ทว่า อย่างไรก็ดี ควรได้มีการเตรียมเหรียญไว้สำหรับโทรไว้จำนวนเพียงพอด้วย

NTT มีการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะและเปิดให้ใช้สำหรับกรณีการเกิดภัยพิบัติ

1. โทรศัพท์สาธารณะติดตั้งเป็นกรณีเฉพาะ

ในเขตซึ่งมีการออกกฏหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติหรือเขตที่เกี่ยวข้องจะมีการติดตั้งโทรศัพท์สาธาณะที่ไม่คิดค่าบริการไว้

2. โทรศัพท์สาธารณะสำหรับการโทรกรณีพิเศษ

ในกรณีที่โทรศัพท์สาธารณะติดตั้งเป็นกรณีเฉพาะไม่สามารถรองรับการใช้งานได้เพียงพอ ก็จะมีการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะแบบเสียค่าบริการตามความจำเป็นด้วย

3. การเปิดใช้โทรศัพท์สาธารณะตามท้องถนน

กรณีที่โทรศัพท์สาธารณะตามท้องถนนอยู่ในสภาพใช้การไม่ได้เป็นเวลานาน เช่น เกิดไฟดับทำให้ใช้บัตรโทรศัพท์โทรไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถเปิดใช้บริการแบบไม่เสียค่าบริการได้

เบอร์ในการติดต่อสำหรับกรณีภัยพิบัติคือ 「171」

NTT มีการกำหนดเบอร์ให้ใช้สื่อสารในช่วงเกิดภัยพิบัติ ซึ่งเป็นเบอร์ที่สามารถใช้ได้ทั้งโทรศัพท์ทั่วไป (แบบกด หรือแบบหมุน) และโทรศัพท์สาธารณะ หากเกิดภัยพิบัติขึ้นสามารถใช้โทรศัพท์สาธารณะสำหรับการโทรในกรณีพิเศษซึ่งจะติดตั้งไว้ในสถานที่อพยพ หรือจะโทรจากโทรศัพท์มือถือก็ได้ นอกจากนี้ยังมีบริการในการฝากข้อความหรือฟังข้อความเสียงก็ได้ด้วย

ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้

กดเบอร์ 「171」

กรณีจะทำการบันทึกข้อความเสียง:

  • 1-1. กด「1」 หลังจบเสียงแนะนำรายการ
  • 1-2. กดเบอร์โทรศัพท์ของตนเอง (หลังกดรหัสพื้นที่) หลังจบเสียงแนะนำรายการ และทำการบันทึกเสียงภายใน 30 วินาที

กรณีจะฟังข้อความที่บันทึก:

  • 2-1. กด 「2」 หลังจบเสียงแนะนำรายการ
  • 2-2. กดเบอร์โทรศัพท์ของอีกฝ่าย (หลังกดรหัสพื้นที่) หลังจบเสียงแนะนำรายการ จากนั้นก็ฟังข้อความที่บันทึกไว้

ในการติดต่อสื่อสารกันผ่านเบอร์นี้จำเป็นต้องแจ้งถึงขั้นตอนการโทรหรือใช้งานให้ครอบครัวหรือคนรู้จักทราบร่วมกันด้วย โดยปกติข้อความที่บันทึกจะอยู่ได้ 48 ชั่วโมง

แต่การโทรกรณีภัยพิบัติเช่นนี้ไม่สามารถโทรจากต่างประเทศมาได้ กรณีที่อยากติดต่อออกนอกประเทศขอให้แจ้งไปที่คนรู้จัก เจ้าหน้าที่ธุรการ หรือทางโรงเรียนซึ่งอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้ช่วยติดต่อออกนอกประเทศให้

บริการ「web171」ซึ่งใช้ผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถเช็คมาจากต่างประเทศได้ โดยมีเสียงแนะนำรายการเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน (จีนกลาง) เกาหลี แต่หากเจ้าตัวหรือครอบครัวที่อยู่ในต่างประเทศไม่มีปัญหาเรื่องการใช้งานจากหน้าจอก็สามารถใช้งานได้เลย รายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้จากเวบไซต์ด้านล่างนี้

ตอนเกิดภัยพิบัติขึ้น ให้ทดลองใช้โทรศัพท์ อีเมล์ หรืออินเตอร์เน็ตที่อยู่รอบตัวดูว่ามีอะไรใช้ได้บ้างและให้ใช้สิ่งนั้นเพื่อติดต่อ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่ามีช่องทางการติดต่อ (หรือบริการ) แบบใดบ้างที่ยังสามารถใช้ได้ในขณะนั้น จากนั้นลองติดต่อไปยังครอบครัวหรือคนรู้จักด้วยวิธีการสื่อสารในช่วงภัยพิบัตินั้น แต่อย่างไรก็ตาม เคยมีบางกรณีที่ฝากข้อความผ่านกระดานข้อความสำหรับภัยพิบัติไว้แต่ไม่มีใครเช็คข้อความเกิน 48 ชั่วโมงจนข้อความหายไปก็มี

การติดต่อไปยังต่างประเทศโดยตรงจะทำได้ค่อนข้างยากในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ขอให้พยายามติดต่อผ่านช่องทางติดต่อไปยังพื้นที่อื่นๆในประเทศดูก่อน

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。