หมวดการรักษาพยาบาล - 15. 「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดการรักษาพยาบาล - 15. 「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」 | คู่มือการจั...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


มหาวิทยาลัย

Temple University, Japan Campus
Sapporo University
Meiji Gakuin University
Teikyo University

บัณฑิตวิทยาลัย

International University of Japan
Niigata University of Health and Welfare
Kwansei Gakuin University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「สถานการณ์ฉุกเฉิน (กลางดึก วันหยุด)」

ในการใช้ชีวิตต่างประเทศ การเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุล้วนเป็นเรื่องที่ชวนให้กังวลใจได้มาก เช่น จะไปรพ.ได้อย่างไร จะสื่อสารกับรพ.รู้เรื่องไหม ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ มีคนมาคอยช่วยดูแลเราอยู่แถวนี้บ้างไหม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ถ้าเป็นการเจ็บป่วยที่ยังพอทนไหว เราอาจมีเวลาหาข้อมูลว่าจะต้องไปที่รพ.ไหนอย่างไร แล้วอาจทนไว้ไปในเช้าวันรุ่งขึ้นได้ แต่บางกรณีเราอาจไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดได้จนต้องเรียกรถพยาบาลมารับตัวไปรพ.ทันที ซึ่งการไปรพ.ก็ชวนให้กังวลใจได้มากพออยู่แล้ว ยิ่งหากต้องมาป่วยกะทันหันคงยิ่งฉุกละหุกและตื่นตระหนกจนไม่รู้ว่าควรจะทำเช่นไรดี

จากนี้จะอธิบายว่าหากเจ็บป่วยกะทันหันหรือเกิดอุบัติเหตุแล้วควรจะต้องทำอย่างไร รวมถึงวิธีการเรียกรถพยาบาล และการไปหาหมอกลางดึกหรือวันหยุดด้วย

หากเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจถึงแก่ชีวิตขอให้เรียกรถพยาบาลทันที ซึ่งด้านล่างนี้คือวิธีการเรียกรถพยาบาล

  • 1. โทรไปที่เบอร์ 「119」
  • 2. เจ้าหน้าที่จะถามว่า 「เพลิงไหม้ หรือรถพยาบาล」 ให้ตอบไปว่า 「รถพยาบาล」
  • 3. เล่าสถานการณ์ให้เจ้าหน้าที่ฟังให้ชัดเจน (เมื่อไหร่ ใคร ที่ไหน อย่างไร ตอนนี้เป็นเช่นไร)
  • 4. แจ้งสถานที่ที่อยู่ในปัจจุบัน (ที่อยู่หรืออาคารที่สังเกตได้ง่าย) ชื่อตัว พร้อมเบอร์โทรศัพท์
  • 5. ถามเจ้าหน้าที่ว่าควรทำอย่างไรระหว่างรอรถพยาบาลมาถึง
  • 6. รอและปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ
  • 7. แจ้งสถานการณ์แก่เจ้าหน้าที่กู้ภัยเมื่อรถพยาบาลมาถึง หากเป็นไปได้ให้หาคนรอบข้างที่รู้สถานการณ์ขึ้นรถไปด้วย ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ขอให้เตรียมบัตรประกันหรือเงินติดไปด้วย

ในปัจจุบันมีคนบางคนที่เรียกรถพยาบาลให้มารับทั้งที่ไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงจริงทำให้รถพยาบาลเสียโอกาสที่จะไปช่วยเหลือผู้ป่วยหนักที่อาจถึงแก่ชีวิตและต้องการรถพยาบาลจริง ซึ่งเคยมีกรณีที่รถพยาบาลไปช้าเพราะสาเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้นทางสถานีดับเพลิงและป้องกันภัยพิบัติโตเกียวจึงได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้ 「รถพยาบาลเป็นรถสำหรับผู้ป่วยหรือบาดเจ็บที่ต้องได้รับการส่งตัวไปรพ.โดยเร่งด่วนอันเนื่องมาจากเหตุเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ หากมีคนเรียกรถพยาบาลออกไปโดยไม่ใช่เหตุเร่งด่วนแล้วเกิดอุบัติเหตุที่ต้องใช้รถพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือจริงขึ้น จะทำให้รถพยาบาลต้องวิ่งไกลขึ้นและทำให้รถพยาบาลไปถึงได้ช้า ซึ่งนั่นอาจทำให้เราไม่สามารถช่วยชีวิตคนที่น่าจะช่วยชีวิตไว้ได้ กรณีที่ไม่เร่งด่วนและยังสามารถไปรพ.เองได้ ขอให้เลือกใช้การเดินทางอื่นๆนอกเหนือจากรถพยาบาลด้วย」

ถ้าเช่นนั้นต้องเจ็บป่วยระดับใดถึงควรจะเรียกรถพยาบาลมารับ ซึ่งเรื่องนี้ทางสถานีดับเพลิงและป้องกันภัยพิบัติโตเกียวได้เตรียมไว้ผ่านทาง 「ศูนย์ให้คำปรึกษารถพยาบาล」 เรียบร้อยแล้ว

ศูนย์ให้คำปรึกษารถพยาบาล:เบอร์โทร #7119 (ตลอด 24 ชม. ไม่เว้นวันหยุด)

ซึ่งสามารถโทรเข้าไปขอคำปรึกษาได้ว่าในกรณีที่มีอาการต่อไปนี้จะเรียกรถพยาบาลดีหรือไม่ หรือไม่จำเป็นต้องเรียกก็ได้ หรือการปฐมพยาบาลสามารถทำได้อย่างไร รพ.ที่สามารถไปเข้ารับการรักษามีที่ใดบ้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ สถานีดับเพลิงในโตเกียวแต่ละแห่งยังสามารถให้ข้อมูลทางโทรศัพท์เรื่องรพ.ที่มีการออกตรวจฉุกเฉินได้ด้วย

แต่หากเป็นกรณีต่อไปนี้ขอให้เรียกรถพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องลังเล ซึ่งในการเรียกรถพยาบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย

  • 1. ไม่หายใจ ชีพจรไม่เต้น หมดสติ
  • 2. เสียเลือดในปริมาณมาก
  • 3. เป็นตะคริว (ชักกระตุก) เกิน 10 นาที
  • 4. อาการร้ายแรงอื่นๆที่เห็นได้ชัดเจน หรือไม่สามารถขยับตัวได้ เป็นต้น

PageTop

สถานพยาบาลโดยทั่วไปจะหยุดวันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดสิ้นปีและปีใหม่ นอกจากนี้ บางที่ยังอาจหยุดในช่วงเทศกาลโอบ้ง (ไหว้บรรพบุรุษในช่วงกลางเดือนส.ค.) หรืออาจหยุดตรวจตั้งแต่ช่วงบ่ายวันเสาร์ด้วย และส่วนมากก็มักมีเวลาตรวจตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น

ดังนั้นในกรณีที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินในช่วงวันหยุดหรือกลางดึกไปที่รพ.ขนาดใหญ่ หมอจะต้องทำการออกตรวจนอกเวลาซึ่งเรียกว่า 「การออกตรวจฉุกเฉิน」 แต่ก็ไม่ใช่สถานพยาบาลทุกแห่งที่สามารถทำการออกตรวจฉุกเฉินเช่นนี้ได้ ซึ่งในเวบไซต์ของสถานีดับเพลิงและป้องกันภัยพิบัติโตเกียวจะมีรายชื่อรพ.ที่ตรวจฉุกเฉินได้แนะนำไว้อยู่

นอกจากนี้ในโตเกียวยังมีบริการข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ชื่อ 「บริการแนะนำสถานพยาบาล ฮิมาวาริ」 ด้วย
เบอร์โทร: 03-5272-0303(ตอบรับ 24 ชม.)

ตอนที่เกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินเราคงไม่มีเวลาที่จะเช็คข้อมูลได้อย่างใจเย็นนัก ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบและจดบันทึกเบอร์ติดต่อของสถานพยาบาลที่มีการออกตรวจฉุกเฉินในพื้นที่ที่ตนอยู่อาศัยไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้ บัตรประกันสุขภาพก็ยังควรพกหรือวางไว้ใกล้ตัวเสมอด้วย

อนึ่ง การออกตรวจฉุกเฉินนั้นจะเป็นการตรวจวินิจฉัยในเวลาเร่งด่วนเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่ารพ.นั้นๆเป็น 「รพ.ที่เปิดตลอด24 ชม.」 ดังนั้นแพทย์เฉพาะทางจึงอาจไม่ได้อยู่ในช่วงของการออกตรวจฉุกเฉิน และแพทย์ที่ทำการรักษาอาจมีจำนวนน้อยจึงอาจให้การรักษาได้ไม่เต็มที่บ้าง ดังนั้นหากต้องการเข้ารับการรักษาแบบนอกเวลาเร่งด่วน ขอให้โทรศัพท์เข้าไปก่อนพร้อมเล่าสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟัง เพื่อเป็นการยืนยันว่าควรจะเข้ารับการรักษาโดยทันทีหรือไม่

การออกตรวจฉุกเฉินจะทำโดยแพทย์ซึ่งประจำอยู่ที่นั่นในเวลานั้นๆ อาจเป็นการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหรือการตรวจอาการคร่าวๆก่อน จากนั้นอาจรอแพทย์เฉพาะทางมาตรวจวินิจฉัยในวันรุ่งขึ้นอีกครั้ง

ซึ่งหากได้มีการโทรเข้าไปเช็คก่อนว่าจะขอรับการออกตรวจฉุกเฉินได้หรือไม่ ทางรพ.จะได้แจ้งตอบรับหรือปฏิเสธให้เราได้ทราบล่วงหน้าได้ว่าขณะนั้นรพ.ไม่มีแพทย์ที่พร้อมจะรักษา ซึ่งในกรณีนี้เราควรได้มีการตรวจสอบชื่อสถานพยาบาลเตรียมไว้ล่วงหน้าหลายๆแห่งด้วย

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。