หมวดแผ่นดินไหว - 2. 「ในเวลาเช่นนั้นควรปฏิบัติตัวอย่างไร?」 | คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

หมวดแผ่นดินไหว - 2. 「ในเวลาเช่นนั้นควรปฏิบัติตัวอย่างไร?」 | คู่มือการจัดการ...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > 「ในเวลาเช่นนั้นควรปฏิบัติตัวอย่างไร?」

คู่มือการจัดการภาวะวิกฤติสำหรับชาวต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

Kwansei Gakuin University
Niigata University of Health and Welfare
International University of Japan

มหาวิทยาลัย

Sapporo University
Meiji Gakuin University
Teikyo University
Temple University, Japan Campus
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

「ในเวลาเช่นนั้นควรปฏิบัติตัวอย่างไร?」

ว่ากันว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเมื่อเกิดแผ่นดินไหวคือการโดนซากปรักหักพังของอาคารร่วงหล่นทับและการถูกไฟครอกจากเพลิงที่ลุกไหม้ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ฮันชินอาวาจิ (Great Hanshin Awaji Earthquake) เมื่อเดือนมกราคมปี 1995 พบว่าในจำนวนของผู้ที่ถูกไฟครอกจนเสียชีวิตนั้นมีจำนวนไม่น้อยที่โดนซากปรักหักพังของอาคารหล่นทับร่างกายจนขยับตัวไม่ได้และต้องถูกไฟครอกตายในที่สุด

เช่นนั้นแล้ว หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น มี 3 เรื่องที่ต้องระลึกถึงเสมอในเวลานั้นคือ

  • (1)รักษาตัวเองให้รอดปลอดภัย
  • (2)เตรียมป้องกันและรับมือกับเพลิงไหม้
  • (3)พยายามดูทางหนีทีไล่

ทันทีที่รู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือน หากสามารถคิดและเตรียมสิ่งเหล่านี้ได้ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็อาจพูดได้ว่าเราจะสามารถช่วยเหลือชีวิตตนเองให้รอดพ้นได้เท่านั้น

แล้วทุกท่านสามารถจินตนาการได้หรือไม่ว่าการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงเป็นอย่างไร ในการสั่นสะเทือนด้วยความรุนแรงระดับ 7 นั้น ขอให้ลองจินตนาการถึงสภาพที่มนุษย์ไม่สามารถทำอะไรได้เลย (ขอให้ไปทดลองที่ศูนย์รับมือภัยพิบัติดูด้วย) ในสภาวะนั้นเราจะยืนไม่ได้ ร่างกายจะเขย่าไปมา โทรทัศน์ก็อาจจะลอยคว้างไปมาอยู่ในบ้าน หรือหน้าต่างที่ล็อกไว้ก็อาจจะหลุดร่วงลงมา ....

แม้จะบอกว่าเป็นสภาพที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมืออะไร เพราะการมีหรือไม่มีการเตรียมพร้อม (ดังเช่นที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้า) จะส่งผลให้เกิดของความตื่นตระหนกได้ต่างกันด้วย แม้ในช่วงที่เกิดการสั่นสะเทือนหนักๆเราจะไม่สามารถทำอะไรได้ แต่หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นไปแล้วเราต้องรีบปรับเปลี่ยนสติให้กลับมาเข้มแข็งเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่พึงกระทำก็คือต้องฝึกจินตนาการว่าอะไรคือสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อรู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือนรุนแรง รวมถึงเข้ารับการฝึกรับมือภัยพิบัติหรือการฝึกเสมือนจริง (simulation) ที่ศูนย์รับมือภัยพิบัติ เป็นต้น

ต่อมา จะดูถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์แต่ละแบบขึ้น

กรณีอยู่ในห้อง

(1) ปกป้องร่างกายของตนเอง!

ช่วงการสั่นที่รุนแรงว่ากันว่าจะอยู่ที่ช่วง 1 นาทีแรก ขั้นแรกให้มุดเข้าไปใต้โต๊ะหรือใต้เก้าอี้ เก็บแขนขาให้มิดชิด ปกป้องร่างกายตนเองให้พ้นจากของหรือเครื่องเรือนที่อาจปลิวหล่นมาใส่

(2) ดับไฟ!

หากสามารถเคลื่อนที่ได้ ให้รีบไปปิดแก๊ส ปิดเตา หรือเตารีดให้เรียบร้อย

⇒สวมใส่สลิปเปอร์หรือรองเท้าให้เรียบร้อยเพื่อปกป้องเท้าเพราะในห้องอาจอยู่ในสภาพอันตรายอันเกิดจากถ้วยชามหรือกระจกหน้าต่างที่แตก
⇒หากมีไฟลุกติดในบริเวณใกล้เคียง ให้ดับไฟอย่างมีสติและใจเย็น

★ระวัง! ระหว่างที่เกิดการสั่นรุนแรงยังไม่ต้องฝืนพยายามที่จะดับไฟก็ได้ แต่ทั้งนี้ อาจเกิดอันตรายจากการที่เตาประกอบอาหารซึ่งยังมีไฟลุกติดอยู่ หรือกาต้มน้ำที่มีน้ำร้อนอยู่ด้านในมาโดนเข้ากับร่างกายเราได้

(3)เตรียมทางหนีทีไล่!

เปิดประตูหรือหน้าต่างเพื่อให้มีทางสำหรับหนีออกไปได้

★ระวัง! ห้ามรีบร้อนกระโจนออกไปด้านนอก! ด้านนอกอาจมีเศษกระจกแตกหรือป้ายต่างๆตกกระจายอยู่ซึ่งอันตรายมาก ถ้าเช่นนี้แล้วอาจเรียกได้ว่าภายในบ้านน่าจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า ถ้าดูแล้วไม่มีแนวโน้มของการเกิดอาคารหรือบ้านพังถล่ม เพดานพังถล่ม หรือเพลิงไหม้ที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็ยังไม่จำเป็นต้องรีบอพยพออกมาด้านนอก แต่ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องอพยพออกมาให้ตรวจสอบสภาพภายนอกโดยรอบให้แน่ใจก่อนแล้วจึงออกมาอย่างระมัดระวัง

กรณีอยู่บนท้องถนน (นอกอาคาร)
  • 1. ปกป้องศีรษะตนเองด้วยกระเป๋าหรือเสื้อโค้ท
  • 2. ไม่เข้าใกล้พื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเกิดการพังล้มหรือหักโค่นของอาคาร เครื่องขายของอัตโนมัติ กระจกหน้าต่าง ป้ายหรือเสาไฟ เป็นต้น
  • 3. พยายามเคลื่อนย้ายตัวเองให้ไปอยู่ในที่โล่งให้ได้มากที่สุด

⇒สิ่งสำคัญที่สุดคือการปกป้องศีรษะตนเองไม่ให้ของหล่นลงมาโดน

กรณีอยู่ถนนใต้ดิน
  • 1. ปกป้องศีรษะตนเองด้วยกระเป๋าหรือเสื้อโค้ท
  • 2. ไม่เข้าใกล้สิ่งของที่มีแนวโน้มจะหักโค่นลงมา เช่น โคมไฟ กระจกหน้าต่าง ป้ายโฆษณา เป็นต้น

⇒ใต้ดินนับว่าค่อนข้างปลอดภัยหากจะเทียบกันแล้วเพราะการสั่นสะเทือนน้อยกว่าบนดิน และแม้จะเกิดกรณีไฟดับขึ้นก็มีระบบไฟสำรองฉุกเฉินติดตั้งเตรียมไว้ นอกจากนี้ ที่ทุกๆ 60 เมตรก็ยังมีทางออกฉุกเฉินอยู่ด้วย หากเกิดเหตุขึ้นขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานอย่างมีสติอย่าตื่นตกใจ

★ระวัง! ทันทีที่ไฟดับและพื้นที่มืดสนิทอาจทำให้เกิดความกลัวและความตื่นตระหนกได้ และในสถานการณ์ดังกล่าวคนอื่นๆรอบตัวอาจวิ่งมาชนและทำให้เสียหลักล้มต่อกันไปเรื่อยๆจนกลายเป็นภูเขามนุษย์ได้ ในเวลาเช่นนี้ขอให้รออย่างสงบ พยายามไม่ขยับเคลื่อนที่ไปไหน เพราะอีกสักครู่ไฟฉุกเฉินจะติดเอง

กรณีอยู่ในห้างร้านหรือในอาคาร
  • 1. ปกป้องศีรษะตนเองด้วยกระเป๋าหรือเสื้อโค้ท
  • 2. พยายามอยู่ให้ห่างจากกระจกตู้โชว์หรือกระจกหน้าต่าง รวมถึงสินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย
  • 3. พยายามหาทางออกฉุกเฉิน หรือออกมาด้านนอกด้วยบันไดหนีไฟ

★ระวัง! ห้ามใช้ลิฟต์เด็ดขาด และในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ห้ามหนีขึ้นไปชั้นบนของอาคารเพราะควันไฟจะลอยขึ้นสู่ที่สูง

◎ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือด้านนอก เวลาเกิดเหตุขึ้นจะต้องรักษาตนเองจากของที่จะหล่นมาใส่ให้ได้ก่อน ซึ่งช่วง 1 นาทีแรกนั้นเป็นช่วงสำคัญที่เราจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เรารอดจากเหตุการณ์นี้ให้ได้

PageTop

(1) ตรวจดูความปลอดภัยรอบตัว

หากพบผู้บาดเจ็บให้พยายามช่วยปฐมพยาบาลทันทีเท่าที่ทำได้ ขอให้คิดเสมอว่าแม้จะเรียกรถพยาบาลให้มารับแต่รถพยาบาลก็ไม่สามารถมาถึงได้ในทันที ดังนั้นจึงแนะนำให้ศึกษาเรื่องเทคนิควิธีการปฐมพยาบาลไว้ด้วย

(2) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีเพลิงไหม้ ถ้ามีก็ดับไฟอย่างมีสติ ไม่ตื่นตระหนก

(3) (ถ้าอยู่ในบ้าน) ให้ตุนน้ำไว้ในอ่างอาบน้ำด้วย

เป็นการตุนน้ำไว้สำหรับใช้ในการขับถ่าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก! เพราะหากไม่ตุนน้ำและน้ำไม่ไหลขึ้นมาก็จะไม่มีน้ำในการใช้กำจัดของเสียจากร่างกาย และหากไม่สามารถกำจัดของเสียได้ของเสียที่ถูกปล่อยไว้ในห้องเราอย่างนั้นก็จะทำให้การใช้ชีวิตของเราลำบากมากยิ่งขึ้น ยิ่งในช่วงที่ดูแล้วน้ำประปาไหลอ่อนยิ่งต้องขอให้ตุนน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (โดยปกติแล้วการขับถ่ายจะใช้น้ำประมาณ 2 ถังต่อครั้ง) หรือในช่วงเวลาปกติ อาจทำการกักน้ำไว้ในอ่างโดยไม่ต้องปล่อยน้ำทิ้งหลังจากอาบน้ำประจำวันเสร็จก็ได้

(4) รับข้อมูลจากสื่อโทรทัศน์และวิทยุ

(5) ถ้าบ้านหรืออาคารมีแนวโน้มว่าจะพังถล่มลงมาให้รีบอพยพออกมาด้านนอก

★ระวัง! กรณีที่จะอพยพจากบ้านออกมาด้านนอกให้สวมใส่รองเท้าที่แน่นหนาแข็งแรง อย่าลืมสับเบรกเกอร์ไฟและปิดวาล์วแก๊สให้เรียบร้อยเสียก่อน (เพราะหากเกิดกระแสไฟฟ้าติดๆดับๆหลายครั้ง กระแสไฟจะวิ่งเข้าไปหาพวกเครื่องใช้ฟ้าที่ถูกเปิดไว้อยู่และอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้)

※ข้อ (1)~(5) ไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับก็ได้ สามารถทำได้พร้อมๆกันหรือตามแต่สถานการณ์จะอำนวย

จะอพยพไปที่ไหนดี?

หากต้องอพยพออกไปด้านนอก ก่อนอื่นควรจะไปที่ไหนดี? แต่ละพื้นที่เขตจะมีการจัดเตรียมสถานที่อพยพชั่วคราว, ลานอพยพ, ศูนย์อพยพไว้อยู่แล้ว ก่อนอื่นขอให้อพยพไปที่สถานที่อพยพชั่วคราวที่แต่ละพื้นที่เขตได้เตรียมไว้

ก่อนอื่นให้ไปยัง 「สถานที่อพยพชั่วคราว」 ก่อน

ก่อนอื่นขอให้อพยพไปที่สถานที่อพยพชั่วคราวเพื่อคอยเฝ้าสังเกตสถานการณ์ภัยพิบัติให้แน่ใจ ซึ่งสถานที่อาจเป็นสวนสาธารณะหรือศาลเจ้าที่อยู่ใกล้เคียง โดยองค์กรหรือหน่วยงานท้องถิ่นจะเป็นผู้กำหนด

ถ้าสถานที่นั้นไม่ปลอดภัย ให้ไปยัง 「ลานอพยพ」

เป็นสถานที่อพยพซึ่งกำหนดโดยหน่วยการปกครองของแต่ละจังหวัดซึ่งใช้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติรุนแรง และหากภัยพิบัติสงบลงก็สามารถแยกย้ายกลับเข้าบ้านที่อยู่อาศัยของตนเองได้

สุดท้าย ให้ไปที่ 「ศูนย์อพยพ」

เป็นสถานที่ให้อยู่อาศัยไประยะหนึ่งหากบ้านที่อยู่อาศัยของตนเองพังถล่มหรือถูกเพลิงไหม้ ซึ่งมักกำหนดไว้ที่โรงเรียนของแต่ละเขต

จะขออธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับสถานที่อพยพและศูนย์อพยพอีกครั้ง ก่อนอื่นขอให้แต่ละคนมีการเตรียมตัวหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่อพยพชั่วคราว, ลานอพยพ, และศูนย์อพยพในพื้นที่เขตที่ตนเองอยู่อาศัยให้เข้าใจดีเสียก่อนโดยอาจหาข้อมูลได้จากหน่วยประสานงานให้ข้อมูลหรือโฮมเพจของหมู่บ้าน ตำบล เมือง หรือจังหวัดที่ตนอยู่อาศัย

ในกรณีที่ต้องอพยพขอให้เตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้ได้เพียงพอที่สุด แต่ในเวลาเกิดเหตฉุกเฉินขึ้นจริงมักไม่ค่อยจะมีเวลาเตรียมสักเท่าใด ดังนั้นในเรื่องถัดไป จะได้มีการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ควรเตรียมพร้อมในชีวิตประจำวันด้วย

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。