การทำงานพิเศษของนักเรียนต่างชาติ(การอนุญาติ/เงื่อนไข) | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

การทำงานพิเศษของนักเรียนต่างชาติ(การอนุญาติ/เงื่อนไข) | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลกา...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > การทำงานพิเศษของนักเรียนต่างชาติ(การอนุญาติ/เงื่อนไข)

แนะนำการใช้ชีวิตสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

การทำงานพิเศษ

การทำงานพิเศษของนักเรียนต่างชาติ(การอนุญาติ/เงื่อนไข)

ดูเหมือนมีนักศึกษาต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำงานพิเศษในเวลาว่างจากการเรียน เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนหรือค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตส่วนที่ไม่เพียงพอ แต่สถานภาพการพำนักอาศัยของ 「ศึกษาต่อต่างประเทศ」 ตามกฎแล้วเป็นสถานภาพการพำนักอาศัยที่ถูกห้ามไม่ให้ทำงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและถิ่นที่อยู่เพื่อทำงานพิเศษ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

ขั้นแรกคือยื่นขอ 「อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพที่ถืออยู่」

กรณีที่จะทำงานพิเศษให้ยื่นเรื่องขอ「อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพที่ถืออยู่」เมื่อได้รับอนุญาตครั้งหนึ่งแล้วแม้จะมีการเปลี่ยนสถานที่ฝึกงานก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ นอกจากนี้ในกรณีที่ยื่นขอต่อระยะเวลาในการพำนักอาศัยครั้งต่อไปก็สามารถขอต่ออายุ「อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพที่ถืออยู่」ในเวลาเดียวกันได้ เอกสารจำเป็นในการยื่นเรื่องคือเอกสารยื่นขออนุญาตทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพที่ถืออยู่(ขอรับได้ที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)หนังสือเดินทาง(แสดงให้ดูเท่านั้น) ไม่มีค่าใช้จ่าย

เงื่อนไขของการทำงานพิเศษ 1 - เรื่องเวลา

การทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพที่ถืออยู่(ทำงานพิเศษ)ที่อนุญาตให้ผู้ซึ่งถือสถานภาพการพำนักอาศัยเป็น「 นักเรียนต่างชาติ」ตามหลักการแล้วจะถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตดังต่อไปนี้ ไม่เกิน 28 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ ระหว่างวันหยุดยาวไม่เกิน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน

เงื่อนไขของการทำงานพิเศษ 2 - เรื่องประเภทของงานที่ทำ

ห้ามทำงานประเภทธุรกิจบันเทิงแม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดก็ตาม ธุรกิจประเภทที่ต้องให้บริการโดยการนั่งร่วมโต๊ะกับแขกเช่นบาร์,สแน็ค เป็นต้น,ธุรกิจเกี่ยวกับสถานบันเทิงของผู้ใหญ่,ธุรกิจประเภทสร้างความหวังโชคลาภกับลูกค้า(ร้านปาจิงโกะ,บ่อนไพ่นกกระจอก(Mah-Jong) เป็นต้น แม้แต่งานล้างจานหรืองานทำความสะอาดที่ร้านเหล่านี้ก้ถูกสั่งห้ามด้วย

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อทำงานพิเศษ

พยายามจดบันทึกเงื่อนไขในการทำงานเท่าที่สามารถบันทึกได้

หากได้รับเอกสาร「สัญญาจ้างทำงาน」จากทางนายจ้างเมื่อจะทำงานพิเศษได้ก็ดี แต่ธรรมเนียมประเพณีของญี่ปุ่นแทบจะไม่มีการดำเนินการลักษณะนี้เลย ดังนั้นตอนที่สัมภาษณ์ครั้งแรกให้แจ้งทางผู้รับผิดชอบของทางนายจ้างว่า「เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นยังไม่คล่องหากเข้าใจผิดไปแล้วจะทำให้ลำบากได้」แล้วขอให้จดรายละเอียดเช่นวันทำงาน・เวลาทำงาน・ค่าจ้าง・วันจ่ายค่าจ้าง・ชื่อผู้รับผิดชอบเรื่องการจ้างงาน・หมายเลขโทรศัพท์ไว้ หากผู้รับผิดชอบเรื่องการจ้างงานไม่จดบันทึกให้ก็ทำการจดบันทึกด้วยตนเองแล้วขอให้ตรวจสอบให้ก็ได้ หากมีการจดบันทึกเอาไว้แล้วจะได้ป้องกันปัญหาที่ไม่จำเป็นได้และจะเป็นประโยชน์เผื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา กรณีที่เลือกงานจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารขอให้ตัดส่วนที่เกี่ยวกับผู้จ้างงานเก็บไว้ด้วย

จดบันทึกเวลาทำงานและเงินค่าจ้างที่ได้รับ

เมื่อได้รับรายละเอียดค่าจ้างแล้วต้องจดบันทึกไว้ จดบันทึกวัน・เวลาทำงานของตนเอง,เงินค่าจ้างที่ได้รับไว้เพื่อป้องกันปัญหาเช่นจ่ายค่าจ้างไม่ครบ เป็นต้นได้

ไม่มาสาย・หยุดงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า

แม้จะเป็นการทำงานพิเศษก็ไม่อนุญาตให้มาสายโดยพลการ,หยุดงานโดยไม่โทรศัพท์แจ้งล่วงหน้า ดังนั้น ต้องแจ้งล่วงหน้าทุกครั้ง

การหางานพิเศษ

จากการแนะแนวของแผนกแนะแนวการใช้ชีวิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย(สถาบันการศึกษา) เป็นต้น

ดูเหมือนมีหลายที่ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำงานพิเศษไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของแผนกแนะแนวการใช้ชีวิตนักศึกษา・แผนกสวัสดิการ・สหกรณ์ ฯลฯ ของมหาวิทยาลัย(สถาบันการศึกษา) สามารถสอบถามโดยตรงได้

หากมีปัญหาเกิดขึ้นในการทำงานพิเศษ

เนื่องจากจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติที่ทำงานพิเศษเพิ่มมากขึ้นทำให้ค่อยๆมองเห็นปัญหาเช่นเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานพิเศษ,ไม่ได้รับเงินค่าจ้างตามสัญญา เป็นต้นมากขึ้น หากเกิดปัญหาในที่ทำงานขั้นแรกขอให้คุยกับผู้รับผิดชอบอย่างใจเย็น กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ขอให้ปรึกษาองค์กรที่ปรึกษา

หากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานพิเศษ

สำหรับอุบัติเหตุระหว่างการทำงานพิเศษหรืออุบัติเหตุบนทางไป-กลับบ้าน-ที่ทำงานสามารถขอรับสิทธิตามกฏหมายคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน(กฎหมายคุ้มครองแรงงาน) แม้จะเป็นชาวต่างชาติก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานไม่ต่างจากคนญี่ปุ่น หากเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานให้แจ้งผู้รับผิดชอบของที่ทำงานและเข้ารับการรักษาทันที หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมกับเข้ารับการรักษา จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับมาตรการรองรับหลังจากเข้ารับการรักษาแล้วกรณีที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาเนื่องจากผู้รับผิดชอบของที่ทำงานไม่มีความเข้าใจอย่างเพียงพอ เป็นต้น,เหมือนจะไม่ได้รับการชดใช้ความเสียหายขอให้ปรึกษาองค์กรที่ให้คำปรึกษา

องค์กรที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน

สำนักงานที่ปรุกษาแรงงานของแต่ละจังหวัดหรือหน่วยงานบริหารแรงงานกรมแรงงานและเศรษฐกิจจะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้างและนายจ้างซึ่งไม่สามารถแก้ไขเองได้ เมื่อเกิดปัญหาเรื่องไม่จ่ายค่าแรงเป็นต้นสามารถปรึกษาได้ง่าย กรณีของเมืองโตเกียวมีศูนย์ข้อมูลปรึกษาแรงงานซึ่งรับปรึกษาช่วงกลางวันทุกวันจันทร์~ศุกร์ http://www.hataraku.metro.tokyo.jp/soudan-c/center/e/

เรื่องเกี่ยวกับภาษี

มีบางกรณีที่จะถูกหักภาษีเงินได้เมื่อได้รับค่าจ้างจากการทำงานพิเศษ ระบบภาษีจะมีความแตกต่างกันมากตามประเทศหรือระบบสังคม ต่อไปเป็นการอธิบายระบบภาษีของญี่ปุ่นอย่างง่าย

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพิเศษมี 2 แบบคือภาษีที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลางกับภาษีท้องถิ่น

ภาษีที่ถูกหักจากค่าจ้างทำงานพิเศษเป็นภาษีที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลางเรียกว่า「ภาษีเงินได้」บริษัทนายจ้างหรือร้านจะเป็นผู้จ่ายให้รัฐ (สำนักงานสรรพากร)แทนเจ้าตัว มูลค่าของ「ภาษีเงินได้」แตกต่างกันตามมูลค่าของค่าจ้าง โดยปกติแล้วงานอย่างเช่น แปลเอกสาร เป็นต้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของมูลค่ารวม(ผู้ที่พำนักอาศัยในญี่ปุ่นตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) ส่วนผู้ที่อยู่ญี่ปุ่นไม่ถึง 1 ปีหรือรับเงินค่าจ้างมากกว่า 1 ล้านเยนใน 1 ครั้งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 20% ของมูลค่ารวมมูลค่าทั้งหมดของ「ภาษีเงินได้」ที่จ่ายไปจะถูกส่งให้สำนักงานเทศบาลตำบล・เมืองของภูมิภาคที่อาศัยอยู่ จะถูกเรียกเก็บ「ภาษีบำรุงจังหวัด」หรือ「ภาษีบำรุงเมือง」ซึ่งเป็นภาษีท้องถิ่นตามมูลค่าภาษีที่นำส่ง

ภาษีที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลางจะตัดสินขั้นสุดท้ายด้วยรายได้รวมทั้งปี(ตั้งแต่เดือนมกราคม~ธันวาคม)

ภาษีเงินได้ที่นำส่งรัฐบาลจะถูกจากค่าจ้างทุกครั้งที่จ่ายเงินค่าจ้างแต่จะกำหนดมูลค่าภาษีขั้นสุดท้ายด้วยมูลค่ารายได้รวมที่ได้รับใน 1 ปี ดังนั้นช่วงตั้งแต่วันที่ 16-กุมภาพันธ์ ~ 15-มีนาคม ของทุกปีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการมูลค่าภาษีที่จ่ายสำหรับจำนวนเงินรายรับ(มูลค่าที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี)ที่หักค่าใช้จ่ายจำเป็นจากมูลค่ารายได้รวมทั้งปีเทียบกับมูลค่าภาษีที่จ่ายไปแล้ว(มูลค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย)ว่ามากหรือน้อยแล้วกำหนดมูลค่าภาษีขั้นสุดท้าย นี่เรียกว่าการยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้สิ้นปี กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้สิ้นปีแล้วภาษีที่จ่ายไปเยอะกว่าก็จะมีการคืนภาษี(จ่ายคืน)

ช่วงวันที่ 16-กุมภาพันธ์ ~ 15 มีนาคม ของทุกปีจะต้อง「ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้สิ้นปี」กับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่อาศัยอยู่

การ「ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้สิ้นปี」นั้นจะดำเนินการโดยสำนักงานสรรพากรที่ดูแลเทศบาลตำบลหรือเมืองที่ตนอาศัยอยู่สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักสำนักงานสรรพากรขอให้สอบถามกับสำนักงานเทศบาลตำบลหรือเมืองนั้น สำหรับวิธีการยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้สิ้นปีนั้นจะต้องไปขอรับแบบฟอร์มแสดงรายการชำระภาษีเงินได้สิ้นปีที่สำนักงานสรรพากร,กรอกข้อมูลในหัวข้อสำคัญแล้วยื่นแบบ สำหรับผู้ที่ไม่ยื่นแบบครั้งแรกหรือไม่เข้าใจวิธีการกรอกข้อมูลทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรจะคอยให้คำชี้แนะดังนั้นขอให้นำ「หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย」(ผู้จ่ายเงินได้จะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองให้)ไปที่สำนักงานสรรพากรเพื่อขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。