เริ่มต้นดำรงชีวิตในญี่ปุ่น หาที่พัก | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

เริ่มต้นดำรงชีวิตในญี่ปุ่น หาที่พัก | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > หาที่พัก

แนะนำการใช้ชีวิตสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

เริ่มต้นดำรงชีวิตในญี่ปุ่น

หาที่พัก

การพักในเขตเมืองใหญ่อย่างเช่นโตเกียว เป็นต้นเป็นปัญหาอย่างมากแม้กับคนญี่ปุ่นเวลาที่คนญี่ปุ่นไปหาห้องพักก็ต้องนั่งรถไฟไปกลับหลายเที่ยวและก็ต้องเดินเท้าตลอดสองฟากของทางรถไฟด้วย นอกจากนี้ยังมีเจ้าของบ้านเช่าหรือนายหน้าจัดหาบ้านเช่าที่ไม่อยากให้ชาวต่างชาติเช่าด้วยแต่ก็ลองสร้างความกล้าแล้วไปหาที่พักกันเถอะ

ประเภทของที่พักมีแบบไหนบ้างนะ?

(1)หอพักนักศึกษาของสถาบันการศึกษาที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาอยู่

มีหลากหลายแบบทั้งแบบที่สถาบันการศึกษาเตรียมที่พักอย่างเช่นหอพักไว้สำหรับนักศึกษาต่างชาติแล้ว,สถาบันการศึกษาที่แนะนำที่พักของเอกชนให้เป็นต้น สำหรับผู้ที่เดินทางมาญี่ปุ่นแล้วมีปัญหาเรื่องที่พักขอให้ติดต่อสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาไว้

(2)หอพักนักศึกษาต่างชาติ

ทั้งที่หอพักนักศึกษาต่างชาติที่บริหารงานโดยรัฐบาล・เขตโตเกียวหรือกลุ่มเอกชนมีจำนวนน้อยแต่เนื่องจากอุปกรณ์ก็ดีราคาก็ถูกจึงทำให้ถูกจำกัดจำนวนที่พักและคุณสมบัติในการเข้าพัก มีข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่จะให้การแนะนำด้วย

(3)ที่พักซึ่งบริหารงานโดยท้องถิ่น

มีกรณีที่ชาวต่างชาติซึ่งพำนักอาศัยในญี่ปุ่นตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป,มีครอบครัวอาศัยอยู่ด้วยกันสามารถยื่นความจำนงขอเข้าพักในที่พักซึ่งบริหารงานโดยจังหวัดในญี่ปุ่นและเมืองหรือตำบลต่างๆในพื้นที่ได้แต่เนื่องจากที่พักซึ่งบริหารงานโดยท้องถิ่นที่สะดวกในการเดินทางมีผู้ต้องการเป็นจำนวนมากจึงค่อนข้างเข้าพักยาก ติดต่อสอบถามได้ที่แผนกรับสมัคร ฝ่ายธุรการที่พักอาศัยของแต่ละเทศบาลเป็นต้น

(4)หอพักพนักงานองค์กรญี่ปุ่น

Foundation of Corporate Friendship Network for Foreign Students (Chuo-Ku,Nihonbashi) ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มองค์กรต่างๆในการรับนักศึกษาต่างชาติเข้าพักในหอพักพนักงานขององค์กรซึ่งเป็นการรับผ่านมหาวิทยาลัย

(5)ที่พักให้เช่าของเอกชน

■อพาร์ตเมนต์:โดยปกติแล้วเป็นที่พักสองชั้นทั้งแบบอาคารแบบไม้หรืออาคารสำเร็จรูป มีทั้งแบบที่มีห้องครัว・ห้องน้ำร่วมกันหรือแบบแยก,แบบที่ไม่มีห้องอาบน้ำก็เยอะ
■แมนชั่น:โดยปกติแล้วเป็นที่พักตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กนอกเหนือจากห้องพักแล้วยังมีห้องครัว・ห้องน้ำ・ห้องอาบน้ำยิ่งอยู่ชั้นที่สูงค่าเช่าก็ยิ่งสูงตามไปด้วย
■บ้านเดี่ยว:บ้านที่สร้างแยกออกมา ปกติจะเป็นบังกะโลชั้นเดียวหรือสองชั้นมีสวนเล็กๆด้วยแน่นอนว่าต้องมีห้องครัว・ห้องอาบน้ำ・ห้องน้ำด้วย
■ห้องเช่า:เป็นแบบเช่าห้องซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกับเจ้าของมีหลายเงื่อนไขเช่น ใช้ทางเข้าเดียวกันกัลเจ้าของ,ใช้ห้องครัว・ห้องอาบน้ำ・ห้องน้ำร่วมกันแต่เช่าห้องพักเท่านั้น เป็นต้น
■โฮมสเตย์:เป็นแบบที่พักอาศัยอยู่กับเจ้าของบ้านคนญี่ปุ่นที่รับเข้าพักเหมือนเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวนั้น มีผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่นค่อนข้างเยอะแต่ครอบครัวญี่แนที่จะรับเข้าพักน้อยมาก

สิ่งที่ควรจำไว้เกี่ยวกับการหาอพาร์ตเมนต์

"(1)หากไม่สามารถสนทนาภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันได้จะหาเช่าอพาร์ตเมนต์ของเอกชนได้ยาก

ต้องมีการพูดคุยกับเจ้าของบ้าน(เจ้าของบ้านเช่า)เพื่อขอเช่าห้องพักของเอกชน ที่ญี่ปุ่นมีกฎด้านการใช้ชีวิตซึ่งแตกต่างกันตามภูมิภาคอยู่จึงทำให้เจ้าของบ้านเช่าไม่ค่อยอยากให้ผู้ที่ไม่สามารถสนทนาเกี่ยวกับข้อควรระวังด้านการใช้ชีวิตเช่นนี้ด้วยภาษาญี่ปุ่นมาเช่า
(2)""เวลาในการเดินทางไปเรียน 1 ชั่วโมง""ถือเป็นเรื่องปกติในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว,โอซากาเป็นต้น

น่าจะมีคนที่คิดว่าอยากจะเดินไปเรียน,อยากพักย่านที่สามารถปั่นจักรยานไปเรียนได้อยู่ แต่อยากให้คิดว่าเป็นไปไม่ได้โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่อยู่ในย่านธุรกิจ・ย่านการค้า นักศึกษาชาวญี่ปุ่นหรือชาวเมืองจะพิจารณาข้อมูลที่พักและสถานะทางเศรษฐกิจของตนเองแล้วเลือกที่จะเดินทางไปเรียน・ไปทำงานในระยะทางที่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง นอกจากนี้การใช้เครือข่ายรถไฟ・รถไฟใต้ดินที่ซับซ้อนอย่างคล่องแคล่วก็เป็นสิ่งสำคัญการหาที่พักในเมือง หากมีความคิดว่า「ไม่อยากต่อรถ」ก็จะทำให้หาที่พักได้ยากยิ่งขึ้น สำหรับคุณที่ยังอายุน้อย การใช้เครือข่ายคมนาคมในเมืองใหญ่ที่ดูยุ่งยากน่าจะคุ้นเคยได้เร็ว 3) กำหนด Limit ของค่าเช่าที่สามารถจ่ายได้

เบื้องต้นขอให้คิดไว้ก่อนว่าสามารถจ่ายค่าเช่าแต่ละเดือนได้เท่าไหร่ ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์จะแตกต่างกันภูมิภาค・อายุของอาคาร・เครื่องอำนวยความสะดวก・ความกว้างของพื้นที่ นอกจากนี้ในสัญญาเช่าก็จะกำหนดวันชำระค่าเช่าไว้อย่างเข้มงวด,ตัดความคิดเรื่องที่จะพูดว่า「ขออนุญาตจ่ายช้าเล็กน้อยได้หรือไม่?」ได้เลยเนื่องจากไม่เป็นผลแน่นอน (4) รู้จักวิธีเรียกชื่อห้อง

เรียกอพาร์ตเมนต์แบบ 1 ห้อง+ห้องครัวว่า「1K」(กรณีของแมนชั่นจะเรียกว่า「One Room Mansion」) เรียกอพาร์ตเมนต์แบบ 2 ห้อง+ห้องครัวที่มีโต๊ะอาหารว่า「2DK(2 ห้อง+Dining Kitchen)」 เรียกห้องที่มีห้องครัวที่กว้างกว่ว่า「2LDK (2 ห้อง+Living Dining Kitchen)」"

ราคาโดยทั่วไปของค่าเช่า

เมื่อจะทำการเช่าที่พักของเอกชนหากไม่ทราบราคาโดยทั่วไปของค่าเช่ารายเดือน(ราคาปกติ)แล้วจะไม่สะดวกเลย โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองก็จะยิ่งราคาสูง ยิ่งไกลจากใจกลางเมืองออกไปเท่าไหร่ก็ยิ่งจะถูกลง นอกจากนี้ราคาก็จะแตกต่างกันตามระยะทางจากสถานทีรถไฟ,อายุของอาคาร,สภาพแวดล้อมโดยรอบ,สภาพแดดที่ส่องถึง,แหล่งที่อยู่เป็นที่นิยมหรือไม่ด้วย

วิธีการหาที่พัก

(1)รับการแนะนำจากห้องธุรการของมหาวิทยาลัย・สถาบันการศึกษาที่ขึ้นทะเบียนไว้

ทางมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเฉพาะทาง,สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับที่พักของเอกชนสำหรับนักศึกษาที่อยู่บริเวณรอบสถาบันการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนไว้ ขอให้ลองติดต่อสอบถามห้องธุรการก่อน

(2)หาที่พักผ่านนายหน้าจัดหาบ้านเช่า

นายหน้าจัดหาบ้านเช่าเป็นคนกลางจัดหาอพาร์ตเมนต์,แมนชั่น เป็นต้น จะมีป้าย「บริษัทนายหน้า ◯◯」「×× Home」เป็นต้นติดอยู่บริเวณใกล้สถานีรถไฟเป็นจำนวนมาก จะเห็นกระดาษที่เขียนเงื่อนไขการเช่าของอพาร์ตเมนต์ติดไว้ที่ประตูหรือหน้าต่างกระจกตรงทางเข้าอย่างชัดเจน→ขอให้อ้างอิง『ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้นายหน้าจัดหาบ้านเช่าเป็นคนกลางในการดำเนินการ』

(3)หาห้องพักทางอินเตอร์เนต

"SUUMO" 
https://suumo.jp/

■หากมีห้องพักที่น่าสนใจให้ลองโทรศัพท์สอบถาม

หากมีห้องพักที่สอดคล้องกับเงื่อนไขลองโทรศัพท์สอบถามดีกว่าหรือไม่ กรณีที่ห้องนั้นไม่ว่างอย่างเพิ่งตัดสายทันทีให้ลองสอบถามดูว่า「มีห้องที่เป็นเงื่อนไขเดียวกันอีกหรือไม่?」 คนญี่ปุ่นเองก็มีความอดทนอย่างมากในการหาห้องพักโดยการใช้นายหน้าจัดหาบ้านเช่าหลายๆที่

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้นายหน้าจัดหาบ้านเช่าเป็นคนกลางในการดำเนินการ

"(1)ปกติแล้วที่พักให้เช่าเช่นอพาร์ตเมนต์ ฯลฯ จะไม่มีเฟอร์นิเจอร์ให้

ตัวอย่างเช่นที่พักหลายแห่งมีห้องครัว,อ่างล้างจานให้ แต่ไม่มีเตาแก๊สสำหรับทำอาหารให้ ต้องเตรียมอุปกรณ์ส่องสว่าง ,พรมผ้าม่านเอง เป็นต้น (2) เงินค้ำประกัน,เงินกินเปล่า,ค่านายหน้า ฯลฯ ตอนที่ทำสัญญาจะต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่ามัดจำ,เงินกินเปล่า,ค่านายหน้า,ค่าเช่า เป็นต้นรวมทั้งหมด คิดเป็นเงินเท่ากับค่าเช่าบ้านประมาณ 5~6 เดือน


(3) ผู้ค้ำประกัน


ตอนที่ทำสัญญาจะต้องใช้ผู้ค้ำประกันที่เป็นคนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับกรณีที่คนญี่ปุ่นเช่าที่พัก (4)ไปกับคนที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ดี


เมื่อใช้นายหน้าในการจัดหาบ้านเช่า การไปโดยให้เพื่อนที่เป็นคนญี่ปุ่นหรือผู้ค้ำประกันที่รู้จักกันดี,หรือรุ่นพี่ที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ดีช่วยเจรจาด้วยจะได้ผลดียิ่งขึ้น
(5)ขั้นตอนของการแนะนำผ่านนายหน้าจัดหาบ้านเช่า


■ แจ้งเงื่อนไขที่ตนต้องการหากมีที่ตรงกับความต้องการก็ขอให้พาไปดูสถานที่จริงได้

■ หากดูแล้วยังไม่ชอบสามารถปฏิเสธได้ ไม่ต้องจ่ายค่าแนะนำสถานที่ กรณีที่สนใจแจะขอเวลา1~2 วันเพื่อพิจารณา,ปรึกษาเพิ่อน ขอให้แจ้งทางนายหน้าจัดหาบ้านเช่าด้วย

■ อาจจะมีการแจ้งว่า「อยากให้จ่ายเงินมัดจำด้วย」 หากจ่ายเงินมัดจำไปก็จะมีสิทธิ์ในการเช่าที่พักนั้นๆก่อน หากเข้าพักที่นั่นก็จะเป็นเงินส่วนหนึ่งของเงินค้ำประกัน・เงินกินเปล่า กรณีที่ไม่เข้าพักก็มีจำนวนมากที่ไม่ได้รับเงินคืนมา ดังนั้นขอให้ตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะจ่ายเงินด้วย
(6)ข้อควรระวังเมื่อหาห้องพักผ่านนายหน้าจัดหาบ้านเช่า


■ราคาค่าเช่าบ้าน 1 เดือนเท่าไหร่ นอกเหนือจากนั้นมีค่าใช้จ่ายในการดูแลหรือค่าส่วนกลางหรือไม่

■ วิธีการเดินทาง,ระยะทางห่างจากสถานีรถไฟ,มีย่านร้านค้าอยู่ใกล้หรือไม่,ระยะทางห่างจากห้องอาบน้ำ(ที่อาบน้ำสาธารณะ) เป็นต้น
■ ขอให้ตรวจสอบสภาพต่าง ๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ เช่น ที่แดดส่องถึง เป็นต้น
■ ขอให้ตรวจสอบว่าสามารถใช้เครื่องทำความร้อนแบบไหนได้บ้าง มีอพาร์ตเมนต์ที่ห้ามใช้แก๊ส・Oil Heaterเพื่อป้องกันไฟไหม้ด้วย

■มีบางที่ซึ่งผู้เช่าห้องข้างเคียงส่งเสียงดังมาก ดังนั้นหากสามารถสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่พักอาศัยอยู่แล้วได้ก็ลองสอบถามเพื่ออ้างอิงน่าจะดีกว่า "

ความรู้ที่จำเป็นต้องมีและข้อควรระวังในการทำสัญญาเช่า

■ มีการระบุหัวข้อสำคัญทั้งหมดไว้ในเอกสารสัญญาเช่าเมื่อจะเช่าที่พักของเอกชนเช่นอพาร์ตเมนต์หรือแมนชั่นเป็นต้นจะมีการทำสัญญาเช่าระหว่างผู้เช่ากับเจ้าของบ้าน
■ ปกติจะทำสัญญาเช่า2~3 คู่ฉบับที่มีรายละเอียดเหมือนกันให้เจ้าของบ้าน・ผู้เช่า・ผู้ค้ำประกันเชียนชื่อ-สกุล・ที่อยู่,ประทับตราและเก็บไว้คนละ 1 ชุด
■ แบบฟอร์มของสัญญาเช่าโดยทั่วไปทางเจ้าของบ้านจะเป็นผู้เตรียมมานอกจากนี้ยังมีกรณีที่ทางนายหน้าจัดหาบ้านเช่าเป็นตัวแทนของเจ้าบ้านด้วย
■ เนื่องจากสัญญาเป็นหลักฐานของระยะเวลาในการทำสัญญา,รายละเอียดของสัญญา,เงินค่ามัดจำ เป็นต้น ดังนั้นขอให้เก็บสัญญาไว้ให้ดีจนกว่าจะยกเลิก
(1) ภาษาและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำสัญญา

■ค่าเช่า: คือค่าห้องต่อ 1 เดือน ปกติจะจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนถัดไปภายในสิ้นเดือน สำหรับแมนชั่น เป็นต้นที่บริษัทนายหน้าจัดหาบ้านเช่าดูแลอยู่นั้น มีกรณีที่เสียค่าจ่ายเงินล่าช้าประมาณ 10% หากจ่ายค่าเช่าล่าช้ากว่ากำหนดสัญญาเกินกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป ■เงินมัดจำ(เงินค่าประกัน):เป็นเงินที่จ่ายให้เจ้าของบ้านเช่าเป็นเงินเผื่อค้างจ่ายค่าเช่าหรือเงินค่าประกันความเสียหายของห้องเช่า ประมาณ 1~2 เดือนของค่าเช่า,จะมีการคืนเงินหลังจากหักค่าทำความสะอาด・ค่าซ่อมแซมเมื่อเปิดห้องตรวจ(จะย้ายไปพักที่อื่น)แล้วมีเงินเหลือ ■เงินแป๊ะเจี๊ยะในการหาบ้านเช่า(เงินกินเปล่า):เป็นเงินที่จ่ายให้เจ้าของบ้านเป็นเงินก้อนประมาณ1~2 เดือนของค่าเช่า ไม่เหมือนกับเงินค่ามัดจำ จะไม่มีกาคืนเงินเมื่อจะย้ายออก
■ค่าส่วนกลาง(ค่าดูแล) :ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในหนึ่งเดือนเป็นค่าไฟฟ้า・ค่าน้ำประปา・ค่าทำความสะอาดหรือการบำรุงรักษาส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันเช่นบันได・ทางเดิน・ห้องน้ำรวม เป็นต้น
■ค่าธรรมเนียมในการแนะนำ:ค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับนายหน้าจัดหาบ้านเช่า โดยทั่วไปจะประมาณ 1 เดือนของค่าเช่า
(2) ทำความเข้าใจรายละเอียดก่อนทำสัญญากันเถอะ
ไม่ว่าประเทศไหนภาษากฎหมายเป็นสิ่งที่เข้าใจยากเสมอแต่หากมีการลงลายมือชื่อ・ประทับตราในเอกสารสัญญาแล้วถือว่ามีผลทางกฎหมายดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจรายละเอียดแล้วจึงลงลายมือชื่อ・ประทับตรา หากมีจุดไหนไม่เข้าใจขอให้ตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลนักศึกษาต่างชาติหรือรุ่นพี่ที่เข้าใจญี่ปุ่นได้ละเอียด
(3)ระยะเวลามีผลบังคับใช้ของสัญญา
ระยะเวลาของสัญญาโดยทั่วไปคือ 2 ปี ขอให้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการต่อสัญญาที่ระบุในเอกสารสัญญาให้ดี
(4) ไม่ให้พาครอบครัวหรือเพิ่อนมาพักอาศัย,ให้ผู้อื่นเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน ■สำหรับที่พักของเอกชนของญี่ปุ่นจะไม่สามารถให้ผู้อื่นนอกจากผู้ที่ทำสัญญาเข้าพักได้นี่คือสิ่งหนึ่งที่ธรรมเนียมของญี่ปุ่นต่างจากหลายประเทศ กรณีที่ต้องการพักสองคนจำเป็นต้องแจ้งนายหน้าจัดหาบ้านเช่า(เจ้าของบ้าน)ตั้งแต่ตอนแรก
■เมื่อจะมีญาติหรือเพือนมาพักแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆก็ต้องแจ้งและขออนุญาตเจ้าของบ้านล่วงหน้า และปัญหาที่พักเกี่ยวกับชาวต่างชาติเยอะที่สุดคือการที่มีผู้อื่นนอกเหนือจากผู้เช่ามาพักด้วย (5) ไม่ให้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือตกแต่งห้องใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน
ไม่สามารถตกแต่งภายในห้องเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้านเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงจุดที่ไม่สะดวกต้องปรึกษาเจ้าของบ้าน
(6) กรณีการย้ายออกจากที่พัก
■ระยะเวลาในการแจ้งอย่างเป็นทางการเมื่อจะย้ายออกถูกกำหนดไว้ในเอกสารสัญญาด้วย ปกติแล้วจะต้องแจ้งเจ้าของบ้านล่วงหน้า 1 เดือน กรณีที่แจ้งกระทันหันแม้จะพักไม่ถึง1เดือนก็ต้องจ่ายค่าเช่า 1 เดือน ■ในการย้ายออกจากห้องพัก ก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะต้องจัดการห้องพักให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่ทิ้งขยะหรือสิ่งของที่ตนเองไม่ต้องการไว้รกรุงรังเป็นภาระของเจ้าของบ้าน รวมถึงจัดการชำระค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ประปา แก๊ส โทรศัพท์ให้เรียบร้อย

ผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่าที่พักคือ?

"กรณีรับการแนะนำอพาร์ตเมนต์หรือแมนชั่นจากนายหน้าจัดหาบ้านเช่าอาจจะมีคำกล่าวว่า「จำเป็นต้องมีคนค้ำประกันที่เป็นคนญี่ปุ่น」 ดังนั้นจึงจะอธิบายให้เข้าใจไว้ก่อนว่าผู้ค้ำประกันคืออะไร
■เงื่อนไขของผู้ค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกันคือ「ผู้ใหญ่ที่ดำรงชีพโดยอิสระ」ดังนั้นหากไม่ใช่ผู้ที่มีรายได้เพื่อใช้จ่ายในบ้านจะไม่สามารถค้ำประกันได้
■ผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่าจะรับผิดชอบในการรับประกันการชำระหนี้
กรณีที่ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่าภายในวันที่กำหนดหรือไม่จ่ายค่าซ่อมแซมทั้งที่ทำให้ห้องพักเสียหายเป็นต้ นเจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าเสียหายจากผู้ค้ำประกันได้ กล่าวคือผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ชำระหนี้แทนคุณตามกฎหมาย กรณีของนักศึกษาชาวญี่ปุ่นจำนวนมากผู้ค้ำประกันจะเป็นญาติ (โดยทั่วไปจะเป็นบิดา)ที่รับผิดชอบค่าเล่าเรียน นายหน้าจัดหาบ้านเช่าหรือเจ้าของบ้านจะคิดว่าหากนักศึกษาที่เช่าอยู่ไม่จ่ายค่าเช่าเมื่อแจ้งไปที่บิดามารดาแล้วจะได้รับการจ่ายเงินมาให้
■คนที่รู้จักคุณดีจะเป็นผู้ประกันให้ยาก
เนื่องจากผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นคนค้ำประกันการชำระหนี้ดังนั้นแม้จะบอกว่า 「รบกวนด้วย」กับคนที่รู้จักคุณดีก็อาจจะไม่ยอมค้ำประกันให้เบื้องต้นขอให้ลองร้องขอกับคนที่รู้จักคุณดี เช่น อาจารย์ที่สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น หรือผู้ค้ำประกันตอนที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือผู้ประสานงานเป็นต้นดูก่อน

PageTop

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。