การติดต่อกับบริษัท | แนะนำกิจกรรมหางานทำสำหรับนักศึกษาต่างชาติ | JPSS เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาต่อ

การติดต่อกับบริษัท | แนะนำกิจกรรมหางานทำสำหรับนักศึกษาต่างชาติ | JPSS เว็บไซต...

FacebookInstagram
หากผ่านการคัดเลือก มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา

> > > > การติดต่อกับบริษัท

แนะนำกิจกรรมหางานทำสำหรับนักศึกษาต่างชาติ


บัณฑิตวิทยาลัย

Kwansei Gakuin University
International University of Japan
Niigata University of Health and Welfare

มหาวิทยาลัย

Meiji Gakuin University
Temple University, Japan Campus
Teikyo University
ลงทะเบียนฟรี

ลงทะเบียนฟรีเพื่อรับข้อมูลศึกษาต่อญี่ปุ่นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

【เหตุผลที่ JPSS ถูกเลือก】
  1. ทุนการศึกษาจำกัดสิทธิ์เฉพาะผู้ลงทะเบียน JPSS
  2. ได้รับการติดต่อโดยตรงจากมหาวิทยาลัย
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่มีคุณภาพ

อ่านรายละเอียดทางนี้

สำหรับสมาชิก สามารถ Login ได้ที่นี่

การติดต่อกับบริษัท

มารวบรวมข้อมูล,ติดต่อบริษัทที่ตนเองสนใจกันเถอะ มีบางบริษัทที่สามารถสมัครบนโฮมเพจหรือติดต่อสอบถามทางอีเมลเท่านั้นไม่ขอเอกสารหรือเอกสารแนะนำการสมัครดังนั้นมาตรวจสอบข้อมูลล่วงหน้าเตรียมไว้ก่อนกันแถอะ กรณีที่ไม่มีการระบุอะไรเป็นพิเศษจะต้องโทรศัพท์สอบถามซึ่งการโทรศัพท์สอบถามไม่ทำให้เสียเวลามาก,สะดวกเนื่องจากจะได้ทราบปฏิกิริยาของอีกฝ่าย(บริษัท)ได้ทันทีแต่ก็มีกรณีที่ผู้รับผิดชอบของบริษัทอาจจะไม่อยู่เนื่องจากยุ่งช่วงที่รับพนักงานเข้าทำงาน ดังนั้นมาโทรศัพท์สอบถามโดยรักษามารยาทและคิดถึงสถานะของอีกฝ่ายด้วยกันเถอะ

วิธีการเขียนประวัติส่วนตัวและเอกสารใบสมัคร

เอกสารประวัติส่วนตัว(Rusume)

เอกสารประวัติส่วนตัว(Rusume)เป็นเครื่องมือแรกเพื่อแนะนำตนเอง เป็นขั้นตอนแรกที่ของการพิจารณารับเข้าทำงานของทางบริษัท

วิธีการเขียนประวัติส่วนตัว

  • เนื่องจากกรณีของญี่ปุ่นจะหมายถึงการดูวิธีการเขียนคำ เป็นต้นด้วยจึงมีแนวโน้มชอบให้เขียนด้วยลายมือมากกว่าแบบฟอร์มสามารถหาได้จากฝ่ายจัดซื้อของมหาวิทยาลัยหรือตามร้านขายเครื่องเขียน เป็นต้น
  • ต้องไม่เขียนลายมือหวัด,เขียนตัวอักษรคันจิแบบตัวบรรจง แน่นอนว่าห้ามมีคำผิด・ตัวอักษรเขียนตกหล่น เมื่อเขียนเสร็จแล้วขอให้อาจารย์ของสถาบันการศึกษาหรือเจ้าหน้าที่ช่วยดูให้เพื่อตรวจสอบว่าการเขียนแสดงด้วยถ้อยคำที่เหมาะสมหรือผิดปกติหรือไม่
  • รูปถ่ายยืนยันตัวตน ขอให้ถ่ายรูปสวมเสื้อสูทที่ร้านถ่ายรูปแล้วทำการปรินท์เตรียมไว้ให้มาก
  • สำหรับประวัติการศึกษาหากเริ่มต้นเขียนจากตอนจบการศึกษาได้ก็จะดี แต่สำหรับมหาวิทยาลัยจะเขียนถึงแค่ชื่อคณะและสาขาวิชา กรณีที่ผ่านวิทยาลัยอาชีวศึกษาหรือหรือสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นต้องเขียนไว้ด้วย
  • สำหรับผู้ที่เคยทำงานมาแล้วต้องใส่ข้อมูลชื่อบริษัท,ชื่อสังกัด,ช่วงเวลาที่เข้าทำงาน-ลาออกจากบริษัทให้ชัดเจน หากสามารถใส่ข้อมูลรายละเอียดของงานที่เป็นรูปธรรมได้ก็จะดี
  • คุณสมบัติหรือใบอนุญาตเป็นต้น แม้ไม่ใช่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานให้ใส่ข้อมูลตามลำดับที่ได้รับ แต่แยกสิ่งที่ใช้ได้ทั่วโลกไว้แล้วจำกัดเฉพาะส่วนที่ได้รับ・ใช้ได้ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นจะดีกว่า
  • พยายามเขียนแสดงความตั้งใจเพื่อพรีเซนต์ตนเองในช่องแรงจูงใจในการสมัครเข้าทำงาน,ความคาดหวังของตนเองเป็นต้นให้มากที่สุด

เขียนเสร็จแล้วให้นำใส่ในซองสีพื้น ไม่มีลวดลายตอนที่ยื่นก็ให้ยื่นทั้งซองเขียนหน้าซองด้วยปากกาสีแดงว่า「เอกสารประวัติส่วนตัว(Resume)」ระหว่างที่หางานอาจจะมีกรณีที่บริษัทขอให้ยื่นเอกสารประวัติส่วนตัวอีกดังนั้นขอแนะนำให้เตรียมไว้ด้วย

เอกสารใบสมัคร (Entry Sheet)

เอกสารใบสมัครเป็นเอกสารการสมัครที่ถูกออกแบบด้วยแบบฟอร์มเฉพาะของแต่ละบริษัทซึ่งเพิ่มคำถามลักษณะเดียวกับการสอบข้อเขียนในเอกสารกรอกประวัติส่วนตัว・เอกสารแนะนำตนเอง ถูกใช้อย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นด่านแรกในการรับเข้าทำงานแทนเอกสารประวัติส่วนตัวที่เคยมีมา

(1) ลักษณะเด่นของเอกสารใบสมัคร

หากผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนนี้แล้วจะไม่สามารถผ่านไปถึงการสัมภาษณ์ได้
ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เอกสารใบสมัครเป็นด่านแรกในการรับเข้าทำงานหากผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนนี้จะไม่สามารถผ่านไปถึงการสัมภาษณ์ได้ จากจุดนี้ต้องระมัดระวังว่ามีจุดไหนที่แตกต่างจากเอกสารประวัติส่วนตัวหรือไม่

สามารถเขียนที่บ้านและใช้เวลาในการเขียนได้
เอกสารใบสมัครจะแตกต่างการสอบวิทยานิพนธ์ เป็นต้นตรงที่โดยพื้นฐานแล้วสามารถเขียนที่บ้านแล้วส่งได้ดังนั้นจึงสามารถใช้เวลาเขียน ตรวจเช็ค แก้ไขให้เรียบร้อยเพื่อความพึงพอใจเมื่อบริษัททำการตรวจสอบได้ใช่หรือไม่ อนึ่ง,อาจจะมีกรณีที่ให้ใส่ข้อมูลที่บริษัทด้วย เรามาคิดเตรียมรายละเอียดโยคร่าว และคำนวณเวลาที่ต้องใช้ในการใสข้อมูลนั้นไว้ก่อนกันเถอะ

บริษัทจะดูอะไรในเอกสารใบสมัคร
เนื่องจากเป็นแบบฟอร์มของแต่ละบริษัทดังนั้นรายละเอียดที่จะต้องเขียนจึงมีหลากหลายแต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่บริษัทจะดูคือ ・คุณมีความเป็นไปได้แบบไหนในการทำงานกับบริษัท ・คุณมีการเตรียมตัวเองประมาณไหนสำหรับการทำงาน
2 จุดนี้ก็น่าจะสามารถสรุปได้ใช่หรือไม่

(2) วิธีการเขียนใบสมัครอย่างมีประสิทธิภาพ?

ขั้นแรก,รับเอกสารใบสมัคร โดยหลักการแล้วจะเป็นการสมัครอย่างอิสระ ดังนั้นน่าจะหาใบสมัครได้ง่ายใช่หรือไม่ เนื่องจากมีหลายกรณีที่สามารถดาวน์โหลดใบสมัครจากโฮมเพจของบริษัทได้ดังนั้นเบื้องต้นขอให้ลองตรวจสอบโฮมเพจดูก่อนหากดูแล้วยังไม่ทราบวธีการขอรับใบสมัครขอให้ลองโทรศัพท์สอบถามกับทางฝ่ายบุคคลของบริษัท

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อยื่นใบสมัคร

  • ต้องรักษากำหนดเวลาการยื่นใบสมัครอย่างเคร่งครัด
  • สำหรับประวัติต่างๆจะใช้วิธีการเขียนแบบเดียวกับหลักการเขียนประวัติส่วนตัว มาเขียนให้เรียบร้อยตามแบบฟอร์มกันเถอะ
  • สำหรับคำถามขอให้เขียนข้อความที่สามารถตอบสิ่งที่ถามอย่างถูกต้องเช่นทั้งที่เป็นคำถามเกี่ยวกับ「ธุรกิจ(บริษัท)」แต่ตอบเกี่ยวกับ「ประเภทธุรกิจ」เป็นต้นการเข้าใจเจตนาของคำถามผิดถือว่าพลาดจุดสนใจ การพรีเซนต์ตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นการยกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นรูปธรรมในอดีตที่เกี่ยวข้องกับงานของบริษัทที่คาดหวังไว้,เขียนข้อความที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการเกลี้ยกล่อมให้อีกฝ่ายยอมรับได้
  • การวิเคราะห์ตนเองหรือหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อเขียนใบสมัครจะเป็นประโยชน์กับการสัมภาษณ์ด้วย ในการเขียนใบสมัครน่าจะพิจารณาเชิงลึกเกี่ยวกับการมองอาชีพหรือประสบการณ์ในอดีต เป็นต้นและเนื่องจากผู้สัมภาษณ์ก็จะดำเนินการโยอ้างอิงจากใบสมัครด้วย ดังนั้นการเขียนใบสมัครจึงเป็นการเตรียมการสำหรับการสัมภาษณ์ด้วย

วิธีการติดต่อกับบริษัท

วิธีการโทรศัพท์

«ตัวอย่างการโทรศัพท์สอบถาม»

ประสัมพันธ์「สวัสดีค่ะ บริษัท*** ค่ะ」

คุณ Q「ขอโทษครับ กระผมกำลังศึกษาอยู่ที่บัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัย***,กำลังจะจบการศึกษาในช่วงฤดูใบไม้ผลิหน้านี้ ชื่อ*** ครับ ขอเรียนสายเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลครับ」

ประสัมพันธ์「กรุณารอสักครู่ค่ะ」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「สวัสดีค่ะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลชื่อ *** รับสายค่ะ」

คุณ Q「ขออภัยที่รบกวนครับ กระผมกำลังศึกษาอยู่ที่บัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัย***,กำลังจะจบการศึกษาในช่วงฤดูใบไม้ผลิหน้านี้ ชื่อ*** ครับ กระผมมีความสนใจในธุรกิจของบริษัทคุณจึงโทรศัพท์มาเพื่อรบกวนขอข้อมูลครับ ไม่ทราบว่าบริษัทยังมีแผนจะรับคนเข้าทำงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิหน้าอยู่หรือไม่ครับ?」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「ค่ะ ไม่ทราบว่ารู้จักบริษัทของเราจากทางไหนคะ」

คุณ Q「ครับ กระผมรู้จักบริษัทของคุณจากนิตยสารข้อมูลการหางานชื่อ*** จึงมีความสนใจน่ะครับ」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「วิชาเอกอะไรหรือคะ」

คุณ Q「ครับ ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาในวิชาเอก*** ของสาขาวิจัย***, กำลังทำการวิจัย***อยู่ครับ」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「ขออภัยนะคะ ไม่ทราบว่าภูมิลำเนามาจากที่ไหนคะ?」

คุณ Q「ภูมิลำเนาอยู่ที่*** ประเทศ***, มาศึกษาต่อต่างประเทศที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 5 ปีแล้วสามารถใช้ภาษา***, ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่นได้ครับ」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「เข้าใจแล้วค่ะ ขอที่อยู่เพื่อให้จัดส่งข้อมูลและเอกสารใบสมัครของบริษัทเราด้วยค่ะ」

คุณ Q「ที่อยู่ของกระผมคือ***, หมายเลขโทรศัพท์*** กรณีที่ติดต่อไม่ได้มีหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานวิจัย*** คือหมายเลข*** ครับ」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「เข้าใจแล้วค่ะ ขอให้ส่งเอกสารใบสมัครกลับมาที่บริษัทภายในเดือน*วันที่*นะคะ หลังจากพิจารณาคัดเลือกแล้วเราจะติดต่อกลับไปค่ะ」

คุณ Q「ภายในเดือน*วันที่*นะครับ เข้าใจแล้วครับ รบกวนด้วยนะครับ สวัสดีครับ」

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล「ค่ะ สวัสดีค่ะ」

การจัดงานอธิบาย・สัมมนาของบริษัท

สำหรับบริษัทที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่,มีผู้ต้องการเข้าทำงานแก่งแย่งแข่งขันกันมากจะมีการจัดงานอธิบายหรือสัมมนาเป็นขั้นตอนแรกของกิจกรรมการรับเข้าทำงาน สามารถโทรศัพท์สอบถามเกี่ยวกับกำหนดการได้แต่การค้นหาทางอินเตอร์เน็ตก็ทำได้สะดวกและอาจจะมีกรณีที่จัดสัมภาษณ์หลังจากการจัดงานอธิบายแล้วด้วยดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวไว้ด้วย

การไปเยี่ยมเยียนบริษัท

การไปเยี่ยมเยียนบริษัทจำเป็นต้องเตรียมการล่วงหน้าให้ดีเนื่องจากเป็นโอกาสสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการคัดเลือกคนขั้นสุดท้าย

เอกสารที่ต้องยื่นเรียบร้อยหรือไม่
เนื่องจากมีเอกสารเช่นหนังสือรับรองผลการเรียนเป็นต้นที่ต้องให้ทางสถาบันการศึกษาออกให้จำเป็นต้องได้มาครบทั้งหมดประมาณ 2-3 วนก่อนที่จะไปเยี่ยมเยียนบริษัท

ห้ามไปสาย
ขอให้เผื่อเวลาออกเดินทางเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเรื่องสถานที่และเวลา

ต้องจดจำความรู้เกี่ยวกับบริษัทที่เตรียมไว้ให้ดี
หากถามคำถามที่จะทราบคำตอบหากดูวารสารข้อมูลหรือข้อมูลของบริษัทตอนที่สัมภาษณ์หรือตอนจัดงานอธิบายออกไปจะทำให้ถูกสงสัยในจุดประสงค์ที่จะเข้าทำงานในบริษัทนั้นๆได้ ดังนั้นมาเตรียมความรู้ไว้ล่วงหน้าก่อนไปร่วมงานกันเถอะ

การเยี่ยมเยียนOB・OG

การติดต่อกับรุ่นพี่ซึ่งจบการศึกษาจากสถาบันที่คุณสังกัดอยู่หรือรุ่นพี่จากประเทศเดียวกันเป็นการส่วนตัวเรียกว่าการเยี่ยมเยียนOB(หรือOG,เรียกชื่อโดยย่อยของ Old Boy,Old Girl) การเยี่ยมเยียนOB・OGนั้นเป็นขั้นตอนที่มีผลทำให้รู้สภาพการณ์ของบริษัทที่ไม่ได้เขียนไว้ในรายละเอียดบริษัท(Company Profile)และโดยทั่วไปแล้วรุ่นน้องจะต้องแจ้งทางจดหมายหรือโทรศัพท์ส่วนตัวก่อน

กรณีที่ที่อยู่ในการติดต่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการหางานทำในมหาวิทยาลัย การใช้ที่นี่ก็น่าจะดีใช่หรือไม่ กรณีที่ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการหางานทำหรือไม่มีรุ่นพี่ในบริษัทเป้าหมายสามารถขอรับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทได้ดังนั้นต้องลองไปสอบถามดู

เมื่อจะโทรศัพท์ไปที่สถานที่ทำงานของรุ่นพี่ให้ดำเนินการเหมือนไปเยี่ยมเยียนบริษัทโดยหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ยุ่งมากๆและเมื่อจบการเยี่ยมเยียนแล้วอย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณด้วย

สอบข้อเขียน

การสอบข้อเขียนเป็นอีก1 ขั้นตอนซึ่งจะดำเนินการก่อน-หลังการสัมภาษณ์จะมีหัวข้อเช่น「ทดสอบความสามารถทางการศึกษา」「หัวข้อสถานการณ์ปัจจุบัน」「หัวข้อเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจ」เป็นต้นการที่จะตอบในข้อสอบข้อเขียนไม่เพียงแค่ความรู้พื้นฐานเท่านั้นแต่จำเป็นต้องรู้ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์หรือข่าวต่างๆเป็นต้นด้วยและต้องเข้าใจสภาพสังคมปัจจุบันด้วย

นอกจากนี้หลังการสอบข้อเขียนของบางบริษัทยังมีการตรวจสอบความสามารถหรือคุณสมบัติว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่หรือการเขียนShort Essay・เรียงความด้วย สำหรับการตรวจสอบความสามารถหรือคุณสมบัติว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่นั้นโดยทั่วไปจะเป็นรูปแบบ Work sheetที่ต้องตอบว่า「ใช่」「ไม่ใช่」ในคำถามมากมาย เนื่องจากทิศทางของข้อสอบข้อเขียนเป็นต้นของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นต้นในการตรวจสอบไว้ก่อน

การสัมภาษณ์

สิ่งสำคัญคือขั้นแรกต้องมีความชัดเจนในตนเองเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ก่อนว่าทำไมจึงอยากเข้าทำงานในบริษัทของญี่ปุ่น,ทำไมจึงคาดหวังกับบริษัทนั้น,หากได้เข้าทำงานแล้วต้องการทำงานแบบไหน,วางแผนอนาคตไว้อย่างไร การสัมภาษณ์จะมีหลากหลายรูปแบบเช่นแบบตัวต่อตัว,แบบให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์หาข้อสรุปร่วมกันเพื่อดูรูปการณ์ เป็นต้น

สิ่งที่สามารถคาดการณ์และบอกได้คือยิ่งจำนวนครั้งในการสัมภาษณ์มากขึ้นเท่าไหร่ความเป็นไปได้ที่จะได้เข้าทำงานก็ยิ่งจะสูงขึ้นและยิ่งจำนวนครั้งในการสัมภาษณ์เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่การสัมภาษณ์กับผู้บริหารก็จะเพิ่มขึ้น,รายละเอียดก็จะเป็นระดับสูงมากยิ่งขึ้นด้วย

ลองวิเคราะห์ตนเองกันเถอะ(เพื่อให้สามารถพรีเซนต์ตนเองได้)

  • (1)ลองเขียนเรียงความสั้นเรื่อง 「ฉันเป็นคนแบบ○○」ให้ได้มากที่สุดกันเถอะ
  • (2) ลองเรียบเรียงลำดับสิ่งที่คิดว่า「แสดงถึงตัวตนของตนเองได้ดีที่สุด」ในสิ่งที่เขียนไว้ใน(1)
  • (3) ลองเรียบเรียงลำดับสิ่งที่คิดว่า「เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับบริษัท」จากที่เขียนไว้ใน(1)
  • (4) มาลองเขียน「เกี่ยวกับตนเอง」โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก(2)(3)ข้างต้น
  • (5) ลองเขียนประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมโดยใช้(2)(3)เป็นแบ็คกราวน์
  • (6) สมมติว่าคุณเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของบริษัท ในตอนแรกที่อ่านประโยคพรีเซนต์ตนเองหากมีคนเขียนว่า「ฉันเป็นคนที่มีสำนักรับผิดชอบสูง」จะคิดหรือไม่ว่า「ทำไมถึงสามารถบอกได้นะ?」 วิธีการที่ได้ผลคือการหยิบยกประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาเพื่อให้ฝ่ายที่อ่านคิดว่า「คนนี้เป็นคนที่มีสำนึกรับผิดชอบสูง」
  • (7) ลองเขียนว่าในอนาคตจะดำเนินชีวิตแบบไหน
  • (8) ลองคิดดูว่าการทำงานในบริษัทที่คาดหวังไว้เกี่ยวเนื่องกับข้อ 7 อย่างไรแล้วนำมาใช้เป็นข้อมูลในการเขียนแรงจูงใจในการสมัครเข้าทำงานกันเถอะ
  • (9)ลองอ่านทวนดูอีกครั้งแล้วคิดดูว่ามีส่วนที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่

ท่าทางตอนสัมภาษณ์เป็นสิ่งที่แสดงนิสัยของเจ้าตัวได้ชัดเจนกว่าการพรีเซนต์ตนเอง หากการพรีเซนต์ตนเองกับความประทับใจตอนสัมภาษณ์ต่างกันมากเกินไปก็อาจจะไม่มีความประทับใจที่ดี ดังนั้นไม่ต้องคิดมากไปว่า「อยากให้คิดว่าดี」,ใช้ข้อดีที่ตนเองมีอยู่ให้เป็นประโยชน์กันเถอะ

<< Back  |  Index Page  |  Next >>

แนะนำทุนการศึกษา

ค้นหาสถานที่ศึกษาต่อ

เลือกประเภทของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยระดับอนุปริญญา
สถาบันการศึกษาทั้งหมด
自分の適性を調べて、今後の進路を考えてみよう。軽いゲーム感覚で40の質問に答えてね。